สุขภาวะกับรัฐศาสตร์ : หมุดหมายใหม่ในการเมืองการปกครองท้องถิ่น Health and Political Science: New Milestones in Local Politics and Government

Main Article Content

ฉัตรธสนัน สรรวงษ์ละคร
เรืองวิทย์ วะรีวะราช
จิรฐา ทิศกระโทก

บทคัดย่อ

สุขภาวะกับรัฐศาสตร์หมุดหมายใหม่ในการเมืองการปกครองท้องถิ่นได้เริ่มชัดขึ้นเมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วยปัจจัยหลายประเด็นที่มีความเห็นสอดรับกันทั้งสองหน่วยงาน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสุขภาวะทางรัฐศาสตร์ ได้แก่ 1) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องแสวงหาองค์ความรู้ด้านสาธารณสุขมาคอยสนับสนุนการทำงานเพื่อให้การประสานงานระหว่างสองหน่วยมีประสิทธิภาพที่สุด 2) เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางสาธารณสุขต้องเรียนรู้รัฐศาสตร์หรือการเมืองการปกครองไปด้วย 3) ผู้บริหารทั้งสองส่วนจะต้องสอดประสานการทำงานร่วมกัน และ 4) ประชาชนในพื้นที่จะต้องเอาใจใส่ตรวจสอบการทำงานของทั้งสองหน่วยงานว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ต้องการหรือไม่ ส่วนปัจจัยสู่ความสำเร็จของสุขภาวะกับรัฐศาสตร์ มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในองค์กรที่ต้องใช้ร่วมกันเพื่อนำพาความสำเร็จมาสู่สุขภาวะทางรัฐศาสตร์

Article Details

How to Cite
สรรวงษ์ละคร ฉ., วะรีวะราช เ., & ทิศกระโทก จ. (2024). สุขภาวะกับรัฐศาสตร์ : หมุดหมายใหม่ในการเมืองการปกครองท้องถิ่น: Health and Political Science: New Milestones in Local Politics and Government. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 688–704. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4302
บท
บทความวิชาการ

References

ไกรสร แสนวงค์ (2562). รูปแบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยใช้วัฒนธรรมชุมชนเป็นฐาน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2562.

จรูญ สุภาพ. (2514). การเมือง. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2517). การเมืองกับการบริหาร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิดชนก ปลื้มปรีดี และ พรเพ็ญ อรัณยะนาค. (2560). สุขภาวะชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการมาใช้บริการศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ภาษีเจริญ. นนทบุรี: กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ.

ทักษพล ธรรมรังสีและคณะ. (2563). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการรับรู้นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด จังหวัดขอนแก่น. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม,14(35), 362-373.

ณัฐพล ใจจริง.(ออนไลน์). นักการเมืองท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2566 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=นักการเมืองท้องถิ่น

นภาจรี จิวะนันทประวัติ.(2557). การปกครองท้องถิ่น-ประชาธิปไตยใกล้มือประชาชน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=1340

พระมหานิรุต ญาณวุฑฺโฒ และ พระมหาอภิวัชร์ อภิวชฺชโร.(2565).นักการเมืองท้องถิ่นในระบบราชการ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์,5(1),177-194.

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน.(ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ จำกัด.

พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2564). การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นําทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์,6(1),131-140.

ริซกี สาร๊ะ. (2565). เปิดมุมมอง: ข้อดีข้อเสียถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต.สู่ท้องถิ่นภาพสะท้อนการดูแลบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.hfocus.org/content/2021/10/23471

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2554). สุขภาวะชุมชนเป็นรากฐานของสุขภาวะทั้งมวล [Health for All, All for Health]. นครปฐม : สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

Heinz Eulau. (1963). The Behavioral Persuasion in Politics. New York: Random House.

James Roland Pennock, David G. Smith. (2008). Political Science: An Introduction. Macmillan: University of Virginia.