รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดมหาสารคาม ตามหลักพรหมวิหาร 4 A Management Model to Promoting the Quality of Life of the Elderly in Mahasarakham Province According to Brahmavihara 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดมหาสารคาม ตามหลักพรหมวิหาร 4 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดมหาสารคาม ตามหลักพรหมวิหาร 4 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน คือ กลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโส จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 15 คน กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 คน และกลุ่มนักวิชาการด้านศาสนา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดมหาสารคามตามหลักพรหมวิหาร 4 1) ด้านร่างกาย คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต้องร่วมมือกันในการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านจิตใจ คือ การนำหลักธรรมคำสอนและความเชื่อทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ฝึกพัฒนาจิตใจของตนเองด้วยการไหว้พระสวดมนต์ภาวนา และนั่งสมาธิ เพื่อทำให้จิตใจสงบ 3) ด้านที่อยู่อาศัย คือ หน่วยงานรัฐควรส่งเสริมสนับสนุนการดูแลด้านที่อยู่อาศัย การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนในพื้นที่ 4) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม คือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุและคนในชุมชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนา ตามประเพณีวัฒนธรรม และวันสำคัญต่าง ๆ 2. รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 1) ด้านหลักเมตตา คือ ผู้สูงอายุควรมีความรักใคร่ ปรารถนาดี มีจิตอันแผ่ไมตรีต่อบุคคลในครอบครัว 2) ด้านหลักกรุณา คือ การกล่าวในสิ่งที่ดีงามด้วยความรัก ความเมตตาปรารถนาดีต่อกัน 3) ด้านหลักมุทิตา คือ ความยินดีในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใส 4) ด้านหลักอุเบกขา คือ ควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงและปราศจากอคติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธัชชนันท์ อิศรเดช และคณะ. (2567). การพัฒนาชุมชนต้นแบบตามหลักพรหมวิหารธรรมรองรับสังคมผู้สูงอายุ. Journal of Buddhist Anthropology, 9(1), 75–86.
นริสรา พึ่งโพธิ์สภ และคณะ. (2554). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพื้นฐานทางสังคมเกี่ยวกับสังคมวิทยา: ความเป้นมาและความสัมพันธ์ระหว่างสังคมวิทยากับพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บรรจง ลาวะลี, พระครูชัยรัตนากร, สุเทพ เมยไธสง, จิราภรณ์ ผันสว่าง, อดิศักดิ์ ทุมอนันต์, ฉัตรชัย ชมชารี. (2564). การพัฒนากิจกรรมนันทนาการเพื่อสร้างสมรรถนะจิตใจและทางกายของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพุทธมัคค์, 6(2), 77-86.
บรรจง ลาวะลี, พระศรีวินยาภรณ์ (สายรุ้ง อินฺทาวุโธ), สุเทพ เมยไธสง, อดิศักดิ์ ทุมอนันต์, ฉัตรชัย ชมชารี. (2564). การศึกษาสมรรถนะทางกายผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคตตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(1), 172-183.
พระครูวินัยธรอำนาจ พลปญฺโญ และคณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักธรรม : กรณีศึกษาตำบลบ้านปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 13(2), 81-82.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ (ชําระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย (ปุณขันธ์) และคณะ. (2560). การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี.
พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ. (2561). แนวทางการสร้างเสริมพลังอำนาจผู้สูงอายุโดยใช้วัดเป็นฐานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในประเทศไทย. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ภูมิวัฒน์ พรวนสุข. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแพร่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศ์, 10 (1), 77-87.
สวัสดิ์ ภู่ทอง. (2546). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต สำหรับผู้ใหญ่ในชุมชนชนบทภาคเหนือ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.