รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 The Structural Equation Model of Factors Affecting the Professional Learning Community in Schools Under the Loei Primary Educational Service Area Office 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงของคนในองค์กรจากการปฏิบัติงานร่วมกัน และสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกัน จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาในแต่ละพื้นที่มีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่นั้นๆ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร และครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.240 – 0.730 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.957
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ประกอบด้วย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างองค์กร และ บรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร มีค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) จากการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ได้ค่าสถิติตามเกณฑ์ดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบ อยู่ในระดับดี โดยมีค่า ไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 67.5 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 56 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.13954 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ ( x2/df) เท่ากับ 1.21 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.020 ค่า GFI เท่ากับ 0.982 ค่า AGFI เท่ากับ 0.962 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกศกาญจน์ ทองจันทร์แก้ว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สงขลา สตูล, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จิตลดา หนูดอนทราย. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลริสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาติ สีพันธ์บุญ (2564). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ .วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
ไพผกา ผิวดำ. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 11-18.
เรวณี ชัยเขาวรัตน์ (2558) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) วิถีสร้างครูสู่ศิษย์. เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบกลไกและแนวทางการหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง .(2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถิตย กุลสอน และ คณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลตอการบริหารจัดการชุมชนแหงการเรียนรูทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21.วารสารงานวิจัยวิทยาลัยสันตพล. 6(1),123-133.
สิริพันธุ์สุวรรณมรรคา. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนาการศึกษา. ในชุดวิชา23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นํา. มหาวิทยาลัยสุขโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรม การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community)“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (2560). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
อภิสิทธิ์ อุคำ. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตหาวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อรวรรณ สุขศรี, สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต1. Journal of Buddhist Philosophy Evolved. 7(1),176-186.
Kamarudin Ismail, Rosnah Ishak, and Siti Hajar Kamaruddin (2021). Validating Professional Learning Communities Practice Model in a Malaysian Context. European Journal of Educational Research. 11(1),393-402.
Thompson, R. A., Flood, M. F., & Goodvin, R. (2006). Social support anddevelopmental psychopathology. In D. Cicchetti & D. Cohen (Eds.), Developmental Psychopathology (2nd Ed.), 3. pp. 1-37. New York: Wiley.