ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพสื่อสารการตลาดของผู้ประกอบการสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน Factors Influencing the Marketing Communication of Enterprenuer for Ethnical and Cutural Products in Mae Hong Son
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ นักวิจัยได้ลงพื้นที่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถวิเคราะห์ กลุ่มผู้ประกอบการของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถแบ่งระดับความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด ดังนี้ 1) กลุ่มที่สามารถทำการตลาดได้เอง ไม่พึงพาภาครัฐ 2) กลุ่มที่สามารถทำการตลาดได้เอง แต่ต้องพึ่งพาภาครัฐ 3) กลุ่มที่ไม่สามารถทำการตลาดได้ ต้องพึงพาภาครัฐ 4) กลุ่มที่ไม่สามารถทำการตลาดได้ ไม่สามารถเข้าถึงระบบภาครัฐ โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพสื่อสารการตลาดของผู้ประกอบการสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งกลุ่มประชากร คือผู้ประกอบการสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวม 14 กลุ่ม แต่เนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ที่แน่นอนจึงเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มละ 10 ราย รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 140 คน ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และแบบจำลองถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression)
ผลการศึกษาพบว่า ระดับการสื่อสารทางการตลาดของผู้ประกอบการสินค้าและผลิตภัณฑ์ ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์เมืองชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าผู้ประกอบการของผู้ประกอบการสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ความสำคัญกับระดับการสื่อสารทางการตลาดด้านการขายโดยพนักงานสูงที่สุด รองลงมาคือการส่งเสริมการขาย การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการตลาดทางตรง ตามลำดับ ระดับการสื่อสารทางการตลาดด้านการขายโดยพนักงานนั้น ผู้ประกอบการจะให้ความสำคัญต่อพนักงานขายต้องมีบุคลิกภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส จูงใจในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ได้ และพนักงานขายต้องมีการให้ข้อมูลและแนะนำผลิตภัณฑ์ ณ จุดจำหน่ายเพื่อให้ผู้ซื้อประกอบการตัดสินใจซื้อ ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการสื่อสารทางการตลาดของกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า เพศ ระดับการศึกษา และระดับรายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โกสินทร์ ชำนาญพล. (2562). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ. วารสารราชพฤกษ์, 17(2), 130-138.
พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
รัฐพล สังคะสุข. (2560). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12 (1), 38-49.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ประตูสู่ทางรอดธุรกิจไทยยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ25 กันยายน 2565 จาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-Reveals-theValue-of-e-Commerce-in-2021.aspx.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน.สืบค้นเมื่อ25 กันยายน 2565 จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=index.
อนันตพร พุทธัสสะ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดดิจิทัล เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ. 1 (2), 12-21.
ฮัมเดีย มูดอ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการสื่อสารการตลาดออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของ ผู้ประกอบการโอทอปในพื้นที่เปราะบาง กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 15 (2), 17-1.
Patton, M. Q. (1990).Qualitativ Evaluation and Research Methods. 2nd ed. Newbury Park, CA: Sage.
Hanushek, E. A. and J. E. Jackson.(1977). Statistical Methods for Social Scientists. New York: Academic Press.