การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเลิงนกทา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 Developing learning achievement for Mathematics Subject on topic Fractions By activities inquiry-based learning (5Es) of students in Prathomsuksa 6 at Loeng Nok Tha Kindergarten School Yasothon Primary Educational Service Area Office 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาประสิทธิภาพแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาล เลิงนกทา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 36 คน ดำเนินการวิจัย 1 ภาคเรียน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาครั้งนี้คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน เป็นแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 5 ขั้น 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน หลังเรียนสูงขึ้น นักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100 และแผนมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 92.44/81.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2552.กรุงเทพฯ: สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ขันตี แสนทวีสุข ชาญชัย สุกใส และประสาร ไชยณรงค์. (2560).การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวก การลบ การคูณทศนิยม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.รมยสาร, 15(2), 183-195. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/201587/140780
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2542). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา : ทษฎีและการวิจัย.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตว์.
ณัฐนันท์ จุยคําวง. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่อง ทศนิยม โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู์ 5E ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 1-20.
ทิศนา แขมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545). ดัชนีผลประสิทธิผล (Effectiveness Index : E1). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8(2), 31-35.
พิสมัย ศรีอำไพ. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชา 503721 สัมมนาหลักสูตรและการสอนวิชาคณิศาสตร์. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.
ยุพิน พิพิธกุล. (2554). ครูคณิตสาธิตเกษตร: รวมบทความเกี่ยวกับประสบการณ์จริงในการถ่ายทอดองค์ความรู้ของการเป็นครูมืออาชีพ การปลูกฝังจรรยาบรรณครู และวัฒนธรรมองค์กรในการปฏิบัติต่อกัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา.
โรงเรียนอนุบาลเลิงนกทา. (2565). ข้อมูลสารสนเทศโรงเรียนอนุบาลเลิงนกทา. โรงเรียนอนุบาลเลิงนกทา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2.
ศิริวรรณ ถิตย์รัศมี. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(16), 43-55. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/257463/174058
สงบ ลักษณะ. (2544).แนวการทำแผนการสอน.กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560).ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2545). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
แสงเดือน เจริญฉิม พินดา วราสุนันท์ และกนิษฐา เชาว์วัฒนกูล. (2565). SKP: แพลตฟอร์มการสอนคณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษา SKP: Mathematics Teaching Platform for Primary School Teacher. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 6(2), 16-33.
อรรถพร สำเภา. (2555). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.