การพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 The Development of the Network Group Management Model for Improving Educational Quality in Small-sized Schools Under the Office of Khonkaen Primary Education Service Area 5

Main Article Content

ไฟโรจน์ กลิ่นกุหลาบ
ประพนธ์ หลีสิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 63 คน ครูจำนวน 63 คน รวม 126 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึก และแบบประเมิน สถิติทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น PNI ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันการและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กแบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 สภาพแวดล้อมภายนอก องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยป้อนเข้า องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ องค์ประกอบที่ 4 ผลผลิต/ผลลัพธ์ องค์ปรกอบที่ 5 ข้อมูลป้อนกลับ ส่วนที่ 3 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 4 การประเมินผล ส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กมีความเหมาะสมและเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
กลิ่นกุหลาบ ไ., & หลีสิน ป. (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5: The Development of the Network Group Management Model for Improving Educational Quality in Small-sized Schools Under the Office of Khonkaen Primary Education Service Area 5. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 602–610. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4427
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพฯ: ที.เอส.บี.โปรดักส์.

จำนงค์ แจ่มจันทรวงษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบเครือข่ายเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดิเรก วรรณเศียร. (2545). การพัฒนาแบบจำลองแบบสมบูรณ์ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาการบริหารศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ต้นสีนนท์. (2556). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายโดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต: ภาควิชาบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พูลสุข หิงคานนท. (2540). การพัฒนารูปแบบการจัดองคการของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วรัยพร แสงนภาบวร. (2551). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีกลุ่มโรงเรียนตำบลไทรน้อย. วารสารการศึกษาไทย, 4, 6-7.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2558). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ.2558-2561.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5. (2565). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง (สถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน). วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา,28(1).

สมาน อัศวภูมิ. (2537). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข็มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน.

อภิชัย กรมเมือง. (2553). การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.