การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านป่าไม้สหกรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 Development of Competency in Active Learning Management of Teachers That Affects Student Quality at Banpamaisahakorn School Buriram Primary Educational Service Area Office 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่าไม้สหกรณ์ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านป่าไม้สหกรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้รับการพัฒนา และ นักเรียน จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง แบบประเมิน แบบทดสอบ แบบสอบถาม สถิติพื้นฐานได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบใช้สถิติ One Sample t-test และ Two Sample t-test แบบ t-test for Dependent และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบวา 1) การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูพบว่า 1.1) การสร้างแนวทางพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ประกอบด้วยการดำเนินงาน 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย ขั้นที่ 2 การวางแผนการพัฒนา ขั้นที่ 3 การดำเนินการพัฒนา ประกอบด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 5 ขั้น คือ 3.1) การสร้างเสริมแรงบันดาลใจ 3.2) การเรียนรู้จากการปฏิบัติ 3.3) การไตร่ตรองสะท้อนคิด 3.4) อภิปรายและสรุปผล และ 3.5) การประยุกต์ใช้ความรู้และประเมินผล ขั้นที่ 4 การติดตามและประเมินผล ขั้นที่ 5 การสะท้อนผล และขั้นที่ 6 การเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนร่วมรับทราบ 1.2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และแต่ละองค์ประกอบของกระบวนการพัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องเกี่ยวข้องกัน 2) ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนพบว่า 2.1) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้รับการพัฒนา ระดับดีมาก 2.2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยครูผู้รับการพัฒนาอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจแตกต่างจากค่าเฉลี่ยที่เป็นค่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่เป็นเกณฑ์ 2.5) ครูผู้รับการพัฒนามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 2.6) ผู้มีส่วนร่วมมีความพึงพอใจต่อการจัดนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจษฎา จันทร์เปล่ง.(2565). การพัฒนาระบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการศึกษาแบบ 4.0 ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุภาลัย มะลิซ้อน. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลีลาวดี ชนะมาร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรัชยา ประจำ. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริม การจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
วศินี รุ่งเรือง. (2562). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่ส่งเสริมศิลปะการสอนของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิริยะ วรายุ และอนุชา กอนพ่วง. (2560). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบ้านดอนมูล (สุวรรณสาราษฎร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมพิศ สุขกัลยา. (2564). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หลักสูตรฝกอบรมการนิเทศการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) โดยกระบวนการ Coaching & Mentoring. กรุงเทพฯ : โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตร แหงประเทศไทย จํากัด.
สำนักงานเลขาสภาการศึกษา (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2545). การประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิดและวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
อนุสสรา เฉลิมศรี. (2563). การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ปริญญานิพนธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาชัญญา รัตนอุบลและคณะ. (2559). รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Akinoglu, O., & Tandogan, O. R. (2007). The effects of problem-based active learning in science education on students’ academic achievement, attitude and concept learning. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 3, 71-81.
Aydede, M.N., & Matyar, F. (2009). The effect of active learning approach in science teaching on cognitive level of student achievement. Journal of Turkish Science Education, 6(1), 115-127.
Bishop, L.J. (1979). Staff development and instructional improvement plan and procedures. Boston: Allyn and Bacon.
Bonwell, C. C.; & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Digest. Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education.
Bray M. (2003). Adverse Effects of Supplementary Private Tutoring: Dimensions, Implications, and Government Responses. publisher: ‘Ethics and Corruption in Education’. Paris: UNESCO International Institute for Educational Planning
Castetter, W.B. (1996). The personnel function in education administration. New York: Macmillan.
Gordon, S.E. (1993). We Do: Therefore, We Learn. Training & Development. Vol. 47, no.10.
Jeder. (2014). Training Teachers’ Ethical Skills in License and Master Programs. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 142 (2014) 691 – 694
Shenker, J. I., Goss, S. A., & Bernstein, D. A. (1996). Instructor’s Resource Manual for Psychology: Implementing Active Learning in the Classroom. Boston: Allyn & Bacon.
Thompson, S. C., Gregg, L., & Niska, J. M. (2004). Professional learning communities, leadership, and student learning. Research in Middle Level Education. Online, 28(1), 1-13.