ขึ้นโขนชิงธง : ประเพณีแห่พระแข่งเรือ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร การอนุรักษ์และสืบสาน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ Khun Khon Ching Thong: the Tradition of a Boat Race for Monks in a Procession, Lang Suan District, Chumphon Province. Conservation and Inheritance to Promote the Management of Learning History Subjects
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องขึ้นโขนชิงธง : ประเพณีแห่พระแข่งเรือ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร การอนุรักษ์และสืบสาน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่พระแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 2) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทับวัง พื้นที่วิจัย ได้แก่ โรงเรียนบ้านทับวัง ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้รู้ (Key informant) เป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ที่ให้ข้อมูลในเชิงลึก ด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี พิธีกรรม สังคม ที่เกี่ยวกับประเพณีแห่พระแข่งเรือ ขึ้นโขนชิงธง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 20 คน 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติ (Casual informant) บุคคลที่เคยร่วมในขบวนแห่พระหรือเป็นผู้ร่วมแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธง จำนวน 30 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป (General informant) คือ กลุ่มบุคคลที่เป็นประชากรชาวอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ที่เคยรับรู้หรือเคยสัมผัสและรับชมการแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง โดยวิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณลักษณะแล้วนำเสนอผลการศึกษาในแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาประวัติความเป็นมาประเพณีแห่พระแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร นำมาเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทับวัง 2) ผลการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยองค์ความรู้ใหม่ เรื่อง ประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มาจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทับวัง โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกำหนดประเด็นศึกษา 2) การรวบรวมหลักฐาน 3) การวิเคราะห์ การตีความ และประเมินหลักฐาน 4) การสรุปและเชื่อมโยงข้อเท็จจริง จากการศึกษาหลักฐานต่างๆ ผู้ศึกษาจะพบว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 5) การนำเสนอข้อเท็จจริง จากการตรวจผลงานนักเรียนการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น แสดงได้ว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ทั้ง 5 ขั้นตอนเป็นอย่างดี สามารถนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ในหัวข้อประเพณีแห่แข่งเรือขึ้นโขนชิงธง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ในภาพรวมนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ญาณิศา บุญจิตร์ และสุชาติ มีสมบัติ. (2554). การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่พระแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธงอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม: กระทรวงวัฒนธรรม.
ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยประยุกต์ทางวัฒนธรรม. เล่มที่ 1. โรงพิมพ์ทีคอม.จังหวัดมหาสารคาม.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยทองสุข.
พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ.(2566). โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและสำนึกรักท้องถิ่นเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเมืองหลังสวน จ.ชุมพร ด้วยความร่วมมือเชิงวิชาการของสาขาศิลปศึกษา. หลักสูตรศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฤทัยพรรณ ทองจับ.(2565). ประเพณีชักพระ : การบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านคลองขุดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล.หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยทองสุข
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2556). สัมภาษณ์พิเศษ: ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ถอดรหัสมนุษย์จากมนุษย์. วารสารประชาคมวิจัย, 109(19), 29.
สิทธิโชค ปาณะศรี.(2565). การจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้.นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
สุพิชญา อินทจร.(2562). การติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนวัดประสาทนิกร อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. คณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุริยา ปาระจูม.(2564). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องประเพณีแห่พระแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร.หลักสูตรและการจัดการการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
อัษฎายุธ พุทโธ.(2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาข้อเท็จจริง ทางประวัติศาสตร์ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบผังความคิด.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.