รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 Administration Model for Academic Work in Teaching and Learning of Educational Personnel Nong Khai Primary Educational Service Area Office 2

Main Article Content

รัฐพล พิณพงษ์
โสภี วิวัมน์ชาญกิจ
จุมพล วงศ์ษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารสถานศึกษาในงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน 2 ) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาในงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาในงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบบเป็น 2 กลุ่ม คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ ทาร์โร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลระยะที่ 1 โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำนวยการสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งหมด 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และระยะที่ 3 โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษาในงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 โดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก  และจากการสนทนากลุ่มพบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 โดยรูปแบบที่มีความเหมาะสมประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ  ด้านประกอบด้วย ด้านการจัดทำแผนการเรียนรู้ ด้านการเลือกใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการเรียนการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาในงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
พิณพงษ์ ร., วิวัมน์ชาญกิจ โ., & วงศ์ษร จ. (2024). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2: Administration Model for Academic Work in Teaching and Learning of Educational Personnel Nong Khai Primary Educational Service Area Office 2. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 274–291. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4435
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). ตัวชีวัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2553).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.พุทธศักราช 2551.(พิมพ์ครั้งที่3)กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.

กฤษณพงศ์ บุญเฉย.(2563). ความคิดเห็นในการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ของครูและบุคลากรทางการ โรงเรียนวัดโพธิ์แจ้(มาลีราษฎร์บำรุง)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.วิทยาลัยทองสุข

ชนัญธิดา คำเอก.(2558). ความพึงพอใจในการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอนของผู้ปกครองระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านวังโคนเปือย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย.หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.วิทยาลัยทองสุข

ธัญดา ยงยศยิ่ง.(2560).การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยะลา เขต 3.การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล.(2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการและการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน:การวิเคราะห์เชิงปริมาณผสานเชิงคุณภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.11(1), 126-127.

ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1.โรงพิมพ์ทีคอม.จังหวัดมหาสารคาม.กรุงเทพฯ:วิทยาลัยทองสุข.

พวงรัตน์ เกษรแพทย์.(2560).การศึกษาเชาวน์อารมณ์ในฐานะตัวกำหนดความสำเร็จของผู้บริหาร.The Periodical of Behavioral Science, 9(1),17-35.

วันวิสา พรหมสุวรรณ.(2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3.หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Dondero, G. M. (1993). School-Based Management. Dissertation Abstracts International, 54. (054), 1607-1647

Kshensky, M. (1990, December). Principal power and school effectiveness: a study of urban public middle schools. Dissertation Abstracts International,51(6)