กลยุทธ์การบริหารจัดการสังคมแห่งการเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล Learning Society Management Strategy for Seniors in The Digital Age

Main Article Content

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ
กุลจิรา รักษนคร
สุริมาศ นาครอด
จันทราภรณ์ สีสวย
ชัชพงศ์ สร้อยแสง

บทคัดย่อ

ในโลกยุคใหม่มีพัฒนาการที่รวดเร็วดั่งการหมุนของโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง การพัฒนาเรียนรู้ให้ตามทันโลกก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในปัจจุบัน ไม่ว่าในเรื่องเทคโนโลยี สังคม ความรู้ความสามารถต้องทัดเทียมกันไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด วัยเด็ก หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักอย่างระมัดระวัง คือการโดนหลอกลวงในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของทรัพย์สิน เงินทอง ความรู้ ข่าวสาร ที่เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่หากเรานำมาใช้ด้วยความไม่พอดี ไม่รู้จักความพอเพียงในการใช้งาน สิ่งที่เป็นประโยชน์กลับจะกลายเป็นทำให้เกิดโทษและเกิดผลเสียต่อการดำเนินชีวิตได้ ดังนั้นกลยุทธ์การบริหารจัดการสังคมแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล เพราะในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า การเข้ามามีบทบาทของอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ส่งผลให้คนทุกคนล้วนแต่ต้องปรับตัวเพื่อก้าวทันยุคที่พัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ซึ่งการเรียนรู้ทักษะทางด้านดิจิทัล (Digital Skill) เป็นสิ่งสำคัญกับมนุษย์ทุกคนรวมไปถึงผู้สูงอายุด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการรู้เท่าทัน รู้จักใช้ และใช้เทคโนโลยีอย่างพอดีและมีสติจึงจะเป็นหนทางที่ดีและเกิดประโยชน์มากที่สุด ดังนั้นกลยุทธ์การบริหารจัดการสังคมแห่งการเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล เป็นการขับเคลื่อนมาตรการรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนของประเทศไทยไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การจัดทำบัญชีนวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยเหลือในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การออกระเบียบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินภารกิจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพ ได้แก่ การส่งเสริมให้มีระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และด้านสังคม ได้แก่ การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะการทำงานและทักษะชีวิต

Article Details

How to Cite
คำสามารถ ส., รักษนคร ก., นาครอด ส., สีสวย จ., & สร้อยแสง ช. (2024). กลยุทธ์การบริหารจัดการสังคมแห่งการเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล: Learning Society Management Strategy for Seniors in The Digital Age. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 671–687. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4494
บท
บทความวิชาการ

References

กนตพล บรรทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (Master’s thesis). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567 จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/1298

จารุวรรณ ศรีภักดี. (2567). การขับเคลื่อนมาตรการรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนของประเทศไทยไปสู่การปฏิบัติอย่างมีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567 จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1658208320-1649_0.pdf

จิรเมธ ประเสริฐสุข.(2566). ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567 จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-literacy

ณัฐดนัย เนียมทอง. (2561). ความเข้าใจดิจิทัลกับผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567 จาก https://www.scimath. org/article-technology/item/7943-2018-03-20-04-39-55

พิมพ์จรัส บุญเลิศ. (2560). การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าผ่านเกม ออนไลน์ (Unpublished Master’s thesis). สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมาน ลอยฟ้า. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใหญ่ในชนบท. อินฟอร์เมชั่น, 21(2), 18-28.

อรรถพล สาธิตคณิตกุล. (2558). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Chakraborty, R., Vishik, C., & Raghav, H. (2013). Privacy preserving actions of older adults on social media: Exploring the behavior of opting out of information sharing. De-cision Support Systems, 55(4), 948–956

Boz, H., & Karatas, S. E. (2015). A review on internet use and quality of life of the elderly. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/283902258

Gonzalez, A., Paz Ramirez, M., & Viadel, V. (2012). Attitudes of the Elderly Toward Information and Communications Technologies. Educational Gerontology, 38(9), 585-594

Maliheh, S., Shima, S., & Robab, S. (2015). The internet use in elderly people the breadth of internet use among. Iranian elderly people. Retrieved from http://www.cigota.rs/en/medicinskiglasnik/vol-20-iss-56

Peral-Peral, B., Arenas-Gaitán, J., & Villarejo-Ramos, Á. (2015). From Digital Divide to Psychodigital Divide: Elders and Online Social Networks. Comunicar, 23(45), 57-64.

Ractham, P., & Techatassanasoontorn, A. (2014). Social Media Use and Senior Citizen’s Life Satisfaction. 25th Australasian Conference on Information Systems 8th - 10th Dec 2014, Auckland, New Zealand

Vosner, H.B., Bobek, S., Kokol, P., & Krecic, M.J. (2016). Attitudes of active older Internet users towards online social networking. Computer in Human Behavior, 55, 230- 241.