แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม School Administration Guidelines Based on the Four Principles of Sangahavatthu by Administrators of Childdevelopment Center Under the Local Administrative Organization, Wapipathum District, Mahasarakham Province

Main Article Content

ทิมธิยา ปาลี
ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี

บทคัดย่อ

          วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและครูผู้สอน จำนวน 145 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่า PNIModified รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด สภาพพึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ความต้องการจำเป็นสูงสุดได้แก่ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร และด้านบุคลากร ส่วนแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คือ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดหาสื่อการเรียนที่เหมาะสม บุคลากรต้องมีความรู้ ความสามารถ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี อาคารสถานที่ต้องปลอดภัย สะอาด และเหมาะกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมที่สมดุล เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อย่างทั่วถึง

Article Details

How to Cite
ปาลี ท., & ถิ่นแสนดี ธ. . (2024). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม: School Administration Guidelines Based on the Four Principles of Sangahavatthu by Administrators of Childdevelopment Center Under the Local Administrative Organization, Wapipathum District, Mahasarakham Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(2), 106–118. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4564
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ:กระทรวงมหาดไทย.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2563.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2561). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย.กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

จารุณี อยู่สุขสวัสดิ์.(2565).การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด อุตรดิตถ์.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ดวงใจ เกื้อหนุน. (2558). แนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดชัยภูมิ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยา สาส์น.

บุญชม ศรีสะอาดและคณะ. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 6). คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรทิพย์ วารีนิล. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุทธยา.

ลภัตสดา นราพงษ์. (2560). แนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วันเพ็ญ กงเพชร. (2558). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.

วาศินี อินทร์งาม. (2557). สภาพการบริหารงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550ก). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อัญชลี หลักชัย. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดอุดรธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.