ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ตรรกศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 The Effect of Active Learning with Emphasizing Higher Order Questions in Logic upon Mathematics Learning Achievement and Mathematical Communication Ability of Mathayomsuksa 4 Students
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง ตรรกศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ตรรกศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียน เรื่อง ตรรกศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ตรรกศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ตรรกศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียน เรื่อง ตรรกศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรวิกา ปานศักดิ์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(2), 32-44.
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนวรรณ นัยเนตร. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(26),77-90.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2564). วิจัยการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม.(2565). รายงานผลการประเมินตนเอง. บุรีรัมย์ : โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม.
โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม. (2565). หลักสูตรสถานศึกษา. บุรีรัมย์ : โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม.
วัชรา เล่าเรียนดีและคณะ. (2560). กลยุทธ์จากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : เพชรเกษมพริ้นติ้ง.
วิชุดา ประแดง. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับการเขียนบันทึกการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(2), 60-71.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.). (2562). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2552. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.).(2563). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.).(2564). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.).(2565). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุรัสดี เกรียมโพธิ์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 22(1), 32-46.
Bloom B, et al. (1956). Taxonomy of Education Objective Book 1: Cognitive Domain. London: Longman Group.
Hazzn O, et al. (2011). Guide to Teaching Computer Science: An Activity-Based Approach.
London: Springer London Dordrecht Heidelberg New York.
Zimudzi, E. (2012). Active Learning for Problem Solving in Programming in a Computer Studies Method Course. Department of Mathematics and Science Education. University of Botswana. Gaborone.