การศึกษาผลสัมฤทธิ์การใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร A Study on the Achievement of Teaching Materials in English for Communication for 1st Year Students, Mahamakut Buddhist University, Yasothon Buddhist College
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากปัญหาการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษา ทำให้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษไม่มีประสิทธิภาพและไม่บรรลุเป้าหมายการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารผ่านทักษะทั้ง 4 คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยในฐานะอาจารย์ผู้สอนจึงได้สร้างเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ขึ้น และได้ดำเนินการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 31 รูป/คน จากการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจง (purposive sampling)
เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 2) คู่มือการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1) เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.01/84.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน
3) นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับ “มากที่สุด” ทั้งในภาพรวมและในทุกรายการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). ครูกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ. (2535). การวิจัยเชิงพัฒนาระดับโรงเรียน. เอกสารการวิจัยทางการศึกษา อันดับที่ 162/2535กองวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2542).การพัฒนาศัพท์สัมพันธ์ด้านการศึกษาทางไกล. รายงานการวิจัย, กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นันทกา ท่าวุฒิ. (2542). ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟเอ็ดยุเคชั่น.
ณัฐพล แซ่ลี, พลอย แซ่ม้า, และถิรวิท ไพรมหานิยม (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสําคัญ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง Hello Kitty สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนาบ่อคําวิทยาคม จังหวัดกําแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร,6(12),24-34.
ทวี เทศมาศ. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การใช้เอกสารประกอบการสอน วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,กรุงเทพมหานคร.
เมธาพันธ โพธิธีรโรจน์. (2557). การศึกษาปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 5(1), 48 – 50.
ศศิพิสุทธิ์ หงษ์สมบัติ. (2564). การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาดร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ,15(3),59-73.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2540). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ศิริวรรณ พยาการ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค Learning Together (LT) เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สยามรัฐ ลอยพิมาย และ ชัยวัฒน์ วารี. (2557). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา. หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, กรุงเทพมหานคร.
สมใจ เพชรชิต, ราตรี นันทสุคนธ์ และนวลอนงค์ บุญญฤทธิพงศ์. (2556). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนวิชา ง 30267 เรื่อง อาหารไทยเพื่อสุขภาพจากผักสีเขียวในท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สมเดช สีแสง และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติสายครูผู้สอน. นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). แนวคิดและเทคนิควิธีการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
เสาวภาคย์ ศรีโยธา. (2555). ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา.