การศึกษาเรื่องสัญชาตญาณและการเชื่อมต่อจิตวิญญาณในพระพุทธศาสนา A Study of Instinct and Spiritual Connection in Buddhism

Main Article Content

พระมหาทองเก็บ ญาณพโล

บทคัดย่อ

          บทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับทัศนะเรื่องสัญชาตญาณและการเชื่อมต่อจิตวิญญาณในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายทางศาสนาที่มีบทบาทสำคัญต่อผู้นับถือศาสนาพุทธ และส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติและจุดมุ่งหมาย รวมถึงวิถีชีวิต การศึกษาในเบื้องต้นเริ่มต้นด้วยการศึกษาความหมายของสัญชาตญาณและจิตวิญญาณในมุมมองของศาสนาพุทธ


          การศึกษานี้พบว่า สัญชาตญาณคือสิ่งที่เป็นแรงกระตุ้นจากภายในอาจเรียกว่าเป็นแรงบันดาลใจหรือพลังที่เป็นแรงขับของบุคคลที่มีความแตกต่างกันไป ตามแต่อุปนิสัยส่วนตน แต่โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์มีสัญชาตญาณพื้นฐานที่คล้ายๆกัน และมีจุดร่วมของความเป็นมนุษย์ที่เป็นเอกลักษณ์ การพยายามยกระดับจากสัญชาตญาณเข้าสู่กระบวนการพัฒนาทางจิตวิญญาณทำให้มนุษย์นั้นแตกต่างจากสัตว์ด้วยการใช้สติปัญญา ไตร่ตรองด้วยเหตุผล อันเกี่ยวพันธ์กับจิตวิญญาณซึ่งก็คือ ความตื่นตัวและความรับรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายในใจของบุคคลซึ่งกระบวนการ พัฒนาและยกระดับจิตวิญญาณนั้นศาสนาพุทธได้นำเสนอให้ผ่านกระบวนการปฏิบัติธรรม ซึ่งปรากฎการณ์ ที่เกิดขึ้นถือเป็นประสบการณ์ทางศาสนาส่วนบุคคล เมื่อมนุษย์สามารถเชื่อมกับจิตวิญญาณภายใน นำไปสู่ผลสำเร็จซึ่งก็คือสามารถเสริมสร้างความสุขให้แก่ชีวิต เนื่องจากสามารถทำให้เข้าใจคุณค่าของชีวิตและหาสิ่งที่จริงแท้ในชีวิตในวิถีที่ถูกต้อง อันเป็นการพัฒนาจิตใจที่มีส่วนส่งเสริมคุณธรรมและปัญญาในการใช้ชีวิตให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

Article Details

How to Cite
ญาณพโล พ. (2024). การศึกษาเรื่องสัญชาตญาณและการเชื่อมต่อจิตวิญญาณในพระพุทธศาสนา: A Study of Instinct and Spiritual Connection in Buddhism. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(2), 583–600. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4761
บท
บทความวิชาการ

References

คลังความรู้ SciMath.(2560).พฤติกรรม (Behavior). สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2567 จาก https://www.scimath.org/lesson-biology/item/7001-behavior-7001.

ประกาศิต ชัยรัตน์. (2560). หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาล. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(2),1-14.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2555). สุขภาพในมิติทางจิตวิญญาณหรือปัญญา. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2567 จาก https://www.thaipbs. or.th/news/content/97332.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2539). การควบคุมสัญชาตญาณ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระแมน ฐิตเมโธ.(2561).ธรรมชาติของมนุษย์ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. วารสารศึกษาศาตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(2). 204-213.

พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน). (2515). การบริหารจิตสำหรับเด็กวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

พระสิทธิชัย ปัณณวัตน์. (2559). ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องวิญญาณ ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุกับพรรัตนสุวรรณ. วารสารปณิธาน, 12(1), 41-58.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). คู่มือมนุษย์. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไพรัตน์ แย้มโกสุม. (2558). สมมติหลุดพ้น. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567 จาก https://mgronline.com/daily/detail/9580000140007.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรวรรณ จันทวีเมือง และทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ. (2559). นักศึกษาพยาบาลกับการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 208-219.

วรวิทย์ วศินสรากร. (2549). ปฏิบัตินิยมในพุทธศาสนา สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศูนย์ประสานงาน ดีโอยู. (2564). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงาน ดีโอยู.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2565). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). (พิมพ์ครั้งที่ 43). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สิริวรรณ สาระนาค. (2543). ทฤษฎีบุคลิกภาพ Theory of Personality. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุชาฎา วรินทร์เวช. (2564). การปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า Virtual NCD Forum เรื่อง การสวดมนต์ สมาธิ และสติบำบัด. เอกสารประกอบการบรรยาย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข.

อมรรัตน์ บุญฤทธิ์. (2565). คัมภีร์ลับ พลังจิตบำบัดโรค สมาธิ (กสิณ) ตำราโบราณบำบัดโรคด้วยพลังจิต วิธีการบำบัดโรคด้วยพลังจิต. กรุงเทพฯ: Amornrat Lawyer.

อัญชลี โพธิ์ทอง. (2551). การบริหารการประชาสัมพันธ์ชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ARDI. (2021). พฤติกรรมของมนุษย์ (Human Behavior). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567 จาก https://ardithailand.com/m/HumanBehavior.

Hobbes, T. (1996). Leviathan. New York: Oxford University Press.

Urbinner. (2567). ศิลปะบำบัดคืออะไร? ช่วยผู้คนได้อย่างไร? (Art Therapy). สืบค้นจาก https://www.urbinner.com /post/what-is-art-therapy.