คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด Service quality of the District Registration Office in Roi Et Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกตามเพศ อายุ สภานะภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ประเภทการรับบริการ และระยะทางในการเดินทางมาใช้บริการ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 389 คน ตามสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แทนค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการมีส่วนร่วม จำแนกตามเพศ และสถานะภาพ ใช้สถิติ T-test และจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประเภทการรับบริการ และระยะทางในการเดินทางมาใช้บริการใช้สถิติ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ อายุ สถานะภาพ อาชีพ ประเภทการรับบริการและระยะทางในการเดินทางมาใช้บริการที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษา มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย 3.1) ด้านความรวดเร็วในการให้บริการ ควรให้บริการด้วยความรวดเร็ว เจ้าหน้าที่สามารถตอบคำถาม ข้อสงสัยและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว 3.2) ด้านความเสมอภาคในการให้บริการ ควรการให้บริการตามลำดับคิว การให้บริการโดยเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ 3.3) ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ตรงจุด ควรสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการได้ตรงต่อความต้องการ มีความพร้อมที่จะให้บริการได้ทันทีที่ได้รับการร้องขอ 3.4) ด้านความน่าเชื่อถือ ควรเจ้าหน้าที่แต่งกายสะอาด เรียบร้อย และถูกกาลเทศะ มีความเป็นมืออาชีพ 3.5) ด้านภาพลักษณ์ ควรรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ มีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการให้บริการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2552). รายงานประจำปี พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.
ชรินธร จินดา. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่นักศึกษาของภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 104, 104-119.
ณรงค์ เครือมิ่งมงคล. (2564). คุณภาพการให้บริการของสำนักงานขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 187-200.
ไทยวัน ศิริมา. (2557). คุณภาพการให้บริการไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 159-170.
ธมน เครือเนตร อุมาวรรณ วาทกิจ และรุ่งนภา กิตติลาภ. (2562). คุณภาพการให้บริการของสถานธนานุบาลเทศบาลเมืองปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 43(3), 31-39.
บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.
รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สายบัว อุ่นทะยา. (2556). คุณภาพการให้บริการประชาชนด้านงานทะเบียนและบัตร สำนักทะเบียนอำเภอท่าคันโท จังหวีดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565-2569. ร้อยเอ็ด: สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด. (2566). เอกสารข่าวกระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://www.roiet.go.th/.
สิทธิกร สมบูรณ์พร้อม. (2563). คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม,12(2), 89-101.
อารีรัตน์ วัฒยุ เกษมชัย สายเสมา รสริน ฟอมไธสง และวิจิตรา โพธิสาร. (2566). การศึกษาการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 57(2), 27-38.
อุไรพร วงแก้ว. (2557). คุณภาพการให้บริการงานทะเบียนของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลบ้านถ่อน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 20(2), 67-78.
Gronroos, C. (1990). Service management and marketing. Lexington Books.
Lewis, C., & Booms, B. H. (1983). The marketing aspects of service quality. In L. L. Berry, G. Shostack, & G. Upah (Eds.), Emerging perspectives on services marketing (pp. 99-107). American Marketing Association.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.
Schmenner, R. W. (1995). Service operations management. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York : Harper and Row Publication.