พุทธบูรณาการเพื่อการส่งเสริมการบริการประชาชนของเทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ Buddhist Integration for Public Service Promotion of Mae Faek Subdistrict Municipality at San Sai District in Chang Mai Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การให้บริการประชาชน 2) เปรียบเทียบการให้บริการประชาชน 3) เสนอแนะแนวทางส่งเสริมการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่มาใช้การบริการเทศบาลตำบลแม่แฝก จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และทดสอบค่าเอฟ เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลแม่แฝก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นผู้รับบริการ พบว่า ผู้รับบริการที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา,อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมุติฐาน 3) แนวทางส่งเสริมการให้บริการประชาชน พบว่าควร 1. พัฒนาช่องทางการให้บริการประชาชน พัฒนาระบบออนไลน์ เพิ่มช่องทางการให้บริการแบบออนไลน์ จัดตั้งศูนย์บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ 2. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะการบริการที่ดี จัดระบบร้องเรียนร้องทุกข์ที่มีประสิทธิภาพ 3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน จัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน จัดตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อร่วมตรวจสอบการทำงานของเทศบาล จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจและหน้าที่ของเทศบาล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของเทศบาลผ่านช่องทางต่างๆ 4. พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนที่มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของเทศบาลอย่างโปร่งใส 5. พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในของเทศบาลให้มีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการให้บริการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง. (2533). กองงานวิจัยและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
ชวัลณัฎฐ์ ปาลีย์รวี, อภิรมย์ สีดาคำ, ประเสริฐ ปอนถิ่น. (2566).การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 4 (2), 50-64
พระมหาอวิรุทธิ์ โสภณสุธี (เดชคำตั๋น), ประเสริฐปอนถิ่น และเกียรติศักดิ์ สุขเหลือ. (2566). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4 (2),15-28.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2555). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 82.กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด .
พระธีระพงษ์ ธีรงฺกุโร (พลรักษา). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิภาวรรณ สุริยะจักร. (2559). คุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎรและบัตรจำตัวประชาชนของเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิทธิกร สมบูรณ์พร้อม. (2563). คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
อลิศรา ชัยสงค์, นพดณ ปัญญาวีรทัต และประเสริฐ ปอนถิ่น. (2566). คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของคลินิกตาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4 (2),44-58.
อุเทน เขียวยะ, ประเสริฐ ปอนถิ่น และ นพดณ ปัญญาวีรทัต. (2567). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 5(1), 87-10.