แนวคิดเชิงสัญลักษณ์ ดิน น้ำ ลม ไฟ สู่การสร้างสรรค์เครื่องประดับร่วมสมัยสำหรับชายรักชาย The Symbolic Concepts of Earth, Water, Wind and Fire to Create contemporary Jewelry  for Homosexual 

Main Article Content

ณฐวรรณ นาถวรานนท์
ผกามาศ สุวรรณนิภา
ภูวษา เรืองชีวิน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบทางสังคมและวัฒนธรรม ที่แสดงถึงอัตลักษณ์และความต้องการของเพศทางเลือก LGBT เฉพาะกลุ่มชายรักชาย วิเคราะห์ประเด็นความสัมพันธ์ของการออกแบบกับรูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมในการบริโภค รสนิยม และสร้างสรรค์ผลงานออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัยที่มีเอกลักษณ์ ส่งเสริมคุณค่าเชิงสุนทรียะ ส่งเสริมคุณค่าทางสังคม สร้างคุณค่าทางจิตใจ ตามความต้องการของกลุ่มชายรักชายและตอบสนองต่อคุณค่าทางเศรษฐกิจตลาดเครื่องประดับของประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัยแบบเชิงคุณภาพทางศิลปะใช้ฐานศาสตร์ทางศิลปะ ปฏิบัติการสร้างสรรค์ทางศิลปะเป็นองค์ประกอบหลักการศึกษาวิจัย ผลของการวิจัยพบว่าองค์ประกอบทางสังคมและวัฒนธรรมแสดงอัตลักษณ์ของเพศทางเลือก LGBTของกลุ่มชายรักชาย  มีความสัมพันธ์ทางการออกแบบกับรูปแบบการดำเนินชีวิต มีพฤติกรรม บริโภค รสนิยม จะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มชายรักชายและพบว่า ผลผลิตของงานออกแบบที่ใช้ประดับตกแต่งสำหรับกลุ่มชายรักชาย จะเป็นแบรนด์ที่รองรับสังคมยุคร่วมสมัย ผลผลิตของงานออกแบบจะเป็นประโยชน์มีคุณค่าทางสุนทรียะ ทางสังคม จิตใจ ตามความต้องการของกลุ่มชายรักชายและตอบสนองคุณค่าทางเศรษฐกิจตลาดเครื่องประดับของประเทศไทย

Article Details

How to Cite
นาถวรานนท์ ณ., สุวรรณนิภา ผ., & เรืองชีวิน ภ. (2024). แนวคิดเชิงสัญลักษณ์ ดิน น้ำ ลม ไฟ สู่การสร้างสรรค์เครื่องประดับร่วมสมัยสำหรับชายรักชาย: The Symbolic Concepts of Earth, Water, Wind and Fire to Create contemporary Jewelry  for Homosexual . วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(2), 290–307. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4912
บท
บทความวิจัย

References

กิ่งรัก อิงคะวัต. (2542). รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของ กลุ่มชายรักชาย (เกย์) ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุติภาส อุดมสุด. (2560) การศึกษาทัศนคติของกลุ่มชายรักชาย (เกย์) ที่มีผลต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนม เพื่อส่งเสริมสถานะทางสังคม. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ต้นโมกข์ ปรัชญา. (2565). มานุษยวิทยา, สังคมวิทยา, สัญญวิทยา และทฤษฎีเกี่ยวกับสังคมต่าง ๆ สัญญวิทยา ความหมายของสัญญะ. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2565 จาก http://www gotoknow.org.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). แนวคิด ทฤษฎีเรื่องความหลากหลายทางเพศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

ปุรินทร์ นาคสิงห์. (2547). เกย์: กระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์และวิถีชีวิตทางเพศ.กรุงเทพฯ:สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แพลลัส. (2549). ธาตุทั้ง 4 กับการบริหารการจัดการ. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก http://www.horauranian.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=386042&Ntype=1

เรข์ณพัศ ภาสกร, ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ, (2555). รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภคและการเปิดรับสื่อของชายรักชายในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ. (2525). ศิลปะเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิฌวลอาร์ต.

วัฒนะ จูทะวิภาค. (2545). การออกแบบเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2535) ศิลปะและความงาม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ไอเดียสโตร์.

สาคร คันธโชติ. (2529) การออกแบบผลิตภัณฑ์โลหะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไอเดียสโตร์

สุทิสา โพธิสา.(2563).ร่างกายและสรรพสิ่งบนโลกนี้ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ.วารสารปรัชญาอาศรม.2(1),48-55.

ไสว บุญมา, นภาพร ลิมป์ปิยากร.(2551). ธาตุทั้ง 4 พิโรธ: โจทย์ที่ต้องมีคำตอบ. กรุงเทพฯ : มติชน.

อดิศราพร ลออพันธุ์สกุล, อภิญญา ศักดาศิโรรัตน์.(2559). กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ: ตลาดเฉพาะกลุ่ม (ศักยภาพสูง) ที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น,10(1),7-20.

อารี สุทธิพันธุ์. (2543). ศิลปะและพื้นที่.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Connie de Pelet.(2020).Louis Vuitton launch LV Volt Campaign. Retrieved September 24, 2020. From http:// www.theglassmagazine.com/louis-vuitton-launch-lv-volt-campaign/