อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและจากผู้บังคับบัญชา และความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของพนักงานในสำนักงานสรรพากรแห่งหนึ่ง Perceived Organization and Supervisor Support and Organizational Commitment Affecting in-role Performance of Employees in a Regional Revenue Office

Main Article Content

ชาลิดา รักเจริญ
อมรินทร์ เทวตา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ความผูกพันต่อองค์การ และการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ 2) อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ และ 3) อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของพนักงานในสำนักงานสรรพากรแห่งหนึ่ง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในสำนักงานสรรพากรแห่งหนึ่ง เนื่องด้วยประชากรมีจำนวนน้อย ดังนั้นผู้วิจัยจึงจะเก็บข้อมูลจำนวนทั้งหมด 270 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling) โดยคัดเลือกพนักงานในสำนักงานสรรพากรแห่งหนึ่ง ที่ทำงานเกิน 1 ปีจากทั้งหมด เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าแจกแจงความถี่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ การใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างตัวแปรมีค่าอยู่ระหว่าง 0.116 – 0.599 โดยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การ มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำและไปในทิศทางเดียวกัน และการรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาและความผูกพันต่อองค์การ มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและไปในทิศทางเดียวกัน และความผูกพันต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ มีความสัมพันธ์ในระดับสูงและไปในทิศทางเดียวกัน 2) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การ (0.035) การรับรู้การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การ (0.440) 3) ความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ (0.599) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
รักเจริญ ช., & เทวตา อ. (2024). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและจากผู้บังคับบัญชา และความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของพนักงานในสำนักงานสรรพากรแห่งหนึ่ง: Perceived Organization and Supervisor Support and Organizational Commitment Affecting in-role Performance of Employees in a Regional Revenue Office. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(2), 242–258. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4952
บท
บทความวิจัย

References

กชพร พุทธจักร. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนของนักเรียนพิการ และนักเรียนด้อยโอกาส จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักการบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

กนกวรรณ เต็มโศภินกุล.(2558).การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณนนท์ แดงสังวาลย์,วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์.(2562).อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การหัวหน้างาน ทีมงาน ความมีอิสระในการทำงาน และผลการปฏิบัติงานทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ ที่มีผลต่อความผูกพันในวิชาชีพของบุคลากรสายวิชาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณัฐวรา ปุณยวิทิตโรจน์. (2564). อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการรู้สมรรถนะของตนเองที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์,15(1),45-58.

พงศกร เอี่ยมสอาด,วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์.(2019). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของพนักงานในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รมิตา น่วมเกตุ. (2555). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ คุณลักษณะของงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานประจำฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด. งานวิจัยส่วนบุคคลศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้บรรยากาศองค์การผ่านความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การที่มีผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โสมย์สิรี มูลทองทิพย์. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอท่ามะกา. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุษา งามมีศรี. (2565). การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Bennett, L., & Gadlin, H. (1986). Collaboration and team science: from theory to practice. Retrieved Fromhttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3652225/.

Buchanan, H. B. (1974). building organization commitment, the socialization of managers in work organization. Administrative Science Quarterly, 19, pp. 533 - 546.

Cropanzano, R., & Mitchell, M.S. (2005). Social exchange theory: An interdisciplinary review. Journal of Management, 31(6), 874-900.

Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison. S., & Sowa, D. (1986). Perceived Support. Journal of Applied Psychology, 3(71), pp. 500-507.

Eisenberger, R., Jones, J. R., Aselage, J., & Sucharski, I. L. (2009). Perceived organizational support. In J. A-M. Coyle-Shapiro, L. M. Shore, M. S. Taylor & L. E. Tetrick (Eds.), The Employment Relationship: Examining Psychological and Contextual Perspectives (pp. 206-225). Oxford, UK: Oxford University Press.

Herzberg, F. (1968). Work and the nature of man. New York: World.

Hutchison, S., & Garstka, M. L. (1996). Source of Perceived Organizational Support: Goal Setting and Feedback. Journal Applied Social Psychology, 26, 1361 – 1366.

LaMastro, V. (2002). Commitment and Perceived Organizational Support. Retrieved, from http://national forum. Com /13lama ∼ 1.html.

Organ, D. W., & Konovsky, M. (1989). Cognitive Versus Affective Determinants of Organizational Citizenship Behavior. Journal of Applied Psychology, 74, 157 – 164.

Schermerhorn, J.R. (1996). Organizational behavior. New York: John Wiley.

Steer, M. R. (1991). Introduction to Organization Behavior. New York: Harper Collin Publishers Inc.

Wayne, S. J., Shore, L. M., & Liden, R. C. (2002). Perceived Organizational Support and Leader – Member Exchange: A Social Exchange Perspective. Academy of Management Journal, 40, 82 – 111.