การเตรียมความพร้อมเพื่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยในภูมิภาคอาเซียน Thailand's Preparation for Foreign Direct Investment in the Asean Region

Main Article Content

กัญญาภัทร ขันอาษา
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร

บทคัดย่อ

          ภูมิภาคอาเซียนกำลังกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประเทศไทยจึงควรเตรียมความพร้อมเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเชิงรุก โดยการเร่งดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ จากกลุ่มนักลงทุนข้ามชาติที่มีศักยภาพ 2) การอำนวยความสะดวกและการแก้ไขอุปสรรคในการลงทุน โดยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐและปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคของการประกอบธุรกิจ 3) การเร่งเจรจาจัดทำ FTA โดยเฉพาะการจัดทำ FTA กับตลาดที่มีศักยภาพสูงอย่างสหภาพยุโรป 4) การเตรียมความพร้อมด้านแรงงาน โดยในระยะสั้นและระยะกลาง ควรยกระดับแรงงานให้มีความรู้และทักษะขั้นสูง ดึงดูดแรงงานทักษะสูงจากต่างประเทศให้เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย 5) การพัฒนาระบบนิเวศให้เอื้อต่อการลงทุน โดยการส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI)  6) การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ด้านโลจิสติกส์ โดยการพัฒนาระบบการขนส่งทั้งทางถนน ทางน้ำ ทางราง ทางอากาศ และระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

Article Details

How to Cite
ขันอาษา ก., & โกศลกิตติอัมพร เ. (2024). การเตรียมความพร้อมเพื่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยในภูมิภาคอาเซียน: Thailand’s Preparation for Foreign Direct Investment in the Asean Region. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(2), 641–654. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5051
บท
บทความวิชาการ

References

ฐาณิญา โอฆะพนม และฐิติวรรณ ศรีเจริญ.(2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร,11(2),75-88.

ภัทรวุฒิ สูงกิจบูลย์.(2561).ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย. ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. (2567). การลงทุนในประเทศเศรษฐกิจสำคัญของภูมิภาคอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2567 จาก https://tpso.go.th/.

โสภณ วิจิตรเมธาวณิชย์. (2557). การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2567 จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/853.

อภิรัฐ ตั้งกระจ่าง. (2543). ธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

Dunning, J. H. (1973). The Determinants of International Production. Oxford Economic Papers, 25, 289-336.

Dunning, J. H. (1980). Toward an eclectic theory of international production: some empirical tests. Journal of International Business Studies, 11(1), 9-31.

Kindleberger, C. P. (1966). The role of foreign investment in development. Princeton University Press.