เจนเนอเรชั่นใหม่กับนวัตกรรมการหาเสียง New Generation and Innovation in Campaigning
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในยุคที่เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน วิถีทางการเมืองก็ไม่พ้นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง การหาเสียงแบบดั้งเดิมที่เคยใช้กันมายาวนาน เช่น การจัดชุมนุมหาเสียงตามสถานที่ต่างๆ การแจกจ่ายใบปลิว หรือการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ได้รับการท้าทายจากการมาของสื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดียที่แพร่หลาย เจนเนอเรชั่นดิจิทัลซึ่งประกอบด้วยคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีสารสนเทศ กำลังกลายเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีอิทธิพลมากขึ้น การหาเสียงในยุคนี้จึงไม่สามารถละเลยการใช้สื่อดิจิทัลได้อีกต่อไป ประกอบกับพฤติกรรมและความสนใจที่แตกต่างจากรุ่นก่อนส่งผลต่อรูปแบบการหาเสียงของพรรคการเมืองที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทดังกล่าว เพื่อดึงดูดคะแนนเสียงจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับสร้างนวัตกรรมการหาเสียงให้เหมาะสมกับคนเจเนอเรชั่นใหม่ จะช่วยให้พรรคการเมืองเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการได้รับคะแนนเสียงจากคนรุ่นใหม่ และนำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง ดังนี้ 1) การใช้โซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มสำคัญในการหาเสียง แพลตฟอร์มอย่าง Facebook, Twitter, Instagram, และ TikTok 2) การโฆษณาออนไลน์ กลยุทธ์การกำหนดเป้าหมาย 3) วิดีโอและการสตรีมสด การเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ 4) การใช้แชทบอทและ AI การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 5) การสร้างโปรไฟล์โซเชียลมีเดียที่น่าสนใจ 6) การสร้างคอนเทนต์ที่เป็นไวรัล การหาเสียงแบบดิจิทัล เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย สื่อสารนโยบาย และระดมความสนับสนุน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คันธิรา ฉายาวงศ์. (2564). แนวโน้มการเมืองไทยกับสื่อสังคมออนไลน์ในศตวรรษที่ 21. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 6(1). 97-106.
จิตราภรณ์ จันทิมา. (2564). ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 2(1). 47-49.
ไทยพีบีเอส. (2566). เผยตัวเลขคนไทยแต่ละเจเนอเรชั่น ตัวแปรสำคัญเลือกตั้ง 2566. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.thaipbs.or.th/now/content/61.
ไทยรัฐ. (2566). เลือกตั้ง 2566 เจเนอเรชั่นและสถิติที่น่าสนใจ. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2693695.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561. เล่ม 136 ตอนที่ 6 ก. 6-12.
สถาบันพระปกเกล้า. (2560). นวัตกรรมการหาเสียงเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 จาก https://kpi.ac.th/news/gallery/data/615?page=54.
เสมอ นิ่มเงิน.(2560).Generation กับพฤติกรรมการรับข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ. กรุงเทพฯ: กรมประชาสัมพันธ์.
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. (2566). นโยบายไหน ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 จาก https://theactive.net/data/new-generation-policy/.
ZORT. (2022). พาส่องพฤติกรรมผู้บริโภค 2022 เจาะลึกไลฟ์สไตล์ความต้องการแต่ละ GEN. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567 จาก https://zortout.com/blog/behavior-4-generations-marketing-plan.