ผลกระทบของการใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารนโยบายพรรคการเมืองต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง The Impact of Using Social Media to Communicate Political Party Policies on Election Decision-making
Main Article Content
บทคัดย่อ
เมื่อประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 สื่อโซเชียลมิเดียออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อพรรคการเมืองที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการรณรงค์หาเสียงทั้งตัวผู้สมัคร และพรรคการเมือง เพื่อสร้างคะแนนนิยมให้กับพรรค ด้วยการสื่อสารกับประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์บนแพลตฟอร์มอย่าง Facebook, Line, Instagram, YouTube และ Tik Tok ด้วยสื่อดังกล่าวสามารถเข้าถึงได้ง่าย ประหยัด สะดวก และรวดเร็ว มีการนำเสนอในรูปแบบของ ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และกราฟิก ช่วยสร้างการรับรู้ความเข้าใจได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นที่สาธารณะในการแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ (Comment) ที่เพิ่มระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งยุคการเมืองดิจิทัล (Politics Digital) ที่ส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางการเมืองในโลกออนไลน์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่สูงขึ้น พรรคการเมืองใดที่มีการสื่อสารนโยบายผ่านสื่อโซเชียลมีเดียในรูปแบบการตลาด ที่มีความทันสมัย น่าสนใจ ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ย่อมดึงดูดให้ประชาชนหันมาสนใจและติดตามข้อมูลข่าวสารและนโยบายของพรรคการเมืองมากขึ้น และมีโอกาสที่จะได้รับการเลือกการเลือกตั้งจากประชาชน ดังจะเห็นได้จากการนำกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดของพรรคอนาคตใหม่ที่มีเป้าหมายคือ การสร้างทัศนคติของกลุ่มคนรุ่นใหม่ต่อการเมืองในมุมมองใหม่ ๆ อย่างทันสมัย ด้วยการสร้างแบรนด์ (Branding) ของพรรค การรักษาสัญญา (Brand Commitment) การสร้างจุดเด่นของพรรค (Brand Differentiation) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน (Segmentation) การกำหนดประเด็นข่าวสารที่สำคัญ และตรงกับความต้องการในการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย (Key Message) การสร้างกิจกรรม (Event) ที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองกับประชาชนได้อย่างลงตัว จนทำให้เกิดเป็นไวรัลกระแสนิยมที่มีผู้คนสนใจและติดตาม อีกทั้งยังมีการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร (Share) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กระจายอย่างทั่วถึง รวมทั้งการกำหนดบุคลิกลักษณะของหัวหน้าพรรค (Personal Brand) ที่แสดงการปราศรัยนโยบายของพรรคก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จให้พรรคการเมืองได้รับความนิยม และส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งของประชาชนด้วยเช่นกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กานต์ บุญศิริ. (2562). กลยุทธ์การใช้สื่อใหม่ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคอนาคตใหม่.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567 จาก https://commarts.stou.ac.th/wp-content/uploads/2022/04/413310.
คันธิรา ฉายาวงศ์. (2564). แนวโน้มการเมืองไทยกับสื่อสังคมออนไลน์ในศตวรรษที่ 21.วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร. 6(1), 97 - 107.
ณัฐวีร์ ไวทยาการ และอภิวัฒน์ สุระแสง. (2560). แอนิเมชั่นเรื่อง ด้านมืดสื่อสังคมออนไลน์.กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม.
นุกูล ชิ้นฟัก และคณะ (2562). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารทางการเมืองและการตัดสินใจเลือกตั้งของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10 : 921 - 929.
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). “ชมพู่” ถึง “ธนาธร” กับ #ฟ้ารักพ่อ. [Video file]. สืบค้นเมื่อ11 กุมภาพันธ์ 2567, จาก : https://www.youtube.com/watch?.
นันทวิช เหล่าวิชยา.(2554). สื่อออนไลน์กับอำนาจทางการเมือง.วารสารนักบริหาร. 31(2) : 198 – 20.
ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social media. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
มัทนา เจริญวงศ์. (2552). ความลวงของความจริง เรื่องจริงของข่าวการเมือง. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 26(1), 43 - 59.
วุฒิพร ลิ้มวราภัส. (2562). กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา โพสต์ทูเดย์ และแนวหน้า. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา)คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศุภสัณห์ พรประภา. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดทางการเมืองผ่านสื่อสังคมของพรรคอนาคตใหม่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม) คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สถาบันพระปกเกล้า. (2562). เสวนานวัตกรรมการหาเสียงเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2562, จาก : http://www.kpi.ac.th/gallery180662-1/.
อัญญรัตน์ เอี่ยมเอิบ. (2553). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองไทยผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรินทร์ เทเลวิชั่น. (2566). กรณีศึกษาความสำเร็จในการใช้โซเชียลมีเดียของพรรคการเมือง 2566. สืบค้น วันที่ 7 มิถุนายน 2566,จากhttps://www.amarintv.com/spotlight/economy/detail/45890.
Kumar, JS, Ghouse, SM & Reddy, TN. (2021). Influence of Social Media on Voter Behaviour. Asian Journal of Management. 12 (4), 367 - 374.
Maarek, P. J. (2019). Political marketing and communication. London: John Libbey & Co.
Marketingoops.(2019).ชำแหละกลยุทธ์ใช้สื่อเลือกตั้ง ‘62 พรรคการเมืองแห่ใช้ “คอนเทนต์ + โซเชียลมีเดีย” สร้างสาวก. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567, จาก: https://www.marketingoops.com/reports/mediastat/content-and-social-media-strategy-thailand-general-election-2019/.
Monica, O., Wahida, FW, & Fakhruroja, H. (2019). The Relations Between Influencers in social media and The Election Winning Party 2019. International Conference on ICT for Smart Society (ICISS)., 1-5.
Murdani, A., Haqqi, H., & Alchatib, S. (2022). The Role of social media and Its Implication for Democracy in 2020 U.S. Elections. Ilomata International Journal of Social Science, 3(3), 325 - 336.
Orlowski, J. (Writer) & J. Orlowski (Director). (2020). The social dilemma. In The social dilemma. American: Netflix.
Shirky, C. (2011). The Political Power of Social Media: Technology, the Public Sphere, and Political Change. Foreign Affairs, 90(1), 28–41. http://www.jstor.org/stable/25800379.