การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลา The Classroom Action Research of Teachers in Meritorious School of Temples in Buddhism, Songkhla Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการทำวิจัยชันเรียนของครูโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลา, 2) เพื่อเปรียบเทียบการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดสงขลา ของครูที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับช่วงชั้นที่สอน และประสบการณ์ในการสอนต่างกัน, 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วยครูในโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลา จำนวน 161 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตาราเคร็จวีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 113 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนและการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก เครื่องือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้มูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test) และค่า (F – test) ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยในชันเรียนของครูโรงเรียนกรกุสลของวัดในพระพุทธสาสนา จังหวัดสงขลา โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดสงขลา จำแนกตาม เพศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา ระดับช่วงชั้นที่สอน และประสบการณ์ในการสอน ไม่แตกต่างกัน ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญญหาและแนวทางแก้ไขในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาจังหวัดสงขลา พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับขาดแหล่งเงินทุนในการทำวิจัย และแหล่งวิชากรเพื่อการศึกษาค้นคว้างานวิจัยในชั้นเรียน แนวทางแก้ไขพบว่า ควรฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ควรสนับสนุนงบประมาณในการทำวิจัย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บุณยาพร ฉิมพลอย. (2544). ผลของการทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญจพร เพิ่มกำลังพล. (2551). การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร: กลุ่มรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณทิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปัญญา โรจนวิภาค. (2545). ความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภโชค ปิยะสันต์. (2544). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2549). การวิจัย. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
ส่งสุข ไพลออ. (2545). ความคิดเห็นในการทำวิจัยปฏิบัติการในชันเรียนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานปฐมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพ คัมภิรานนท์. (2539). ปัญหาและการแก้ปัญหาการทำวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบูรพา.วิทยนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.