ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ Factors Affecting the Quality of Life of the Persons with Disabilities in Nong Bua Subdistrict, Namon District, Kalasin Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการเข้าถึงสิทธิ ระดับการสนับสนุนทางสังคม และระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมไปถึงศึกษาอิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคม ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในเขตตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ คนพิการที่จดทะเบียนในเขตตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 118 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณถดถอยเชิงเส้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเข้าถึงสิทธิ ระดับการสนับสนุนทางสังคมของคนพิการ และระดับคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) อิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคม ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการ มีจำนวน 2 ด้าน คือด้านการยอมรับ และด้านข้อมูลข่าวสาร สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 45.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม มีจำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการเรียนรู้ ผลักดันให้คนพิการมีการศึกษา ที่เท่าเทียมกันกับคนปกติ ส่งเสริมให้คนพิการทุกประเภทได้เข้ารับการศึกษาทุกระดับวัยเรียน 2) ด้านอาชีพการจ้างงานและรายได้การอบรมฝึกทักษะอาชีพอิสระในท้องถิ่น ตามความต้องการของแต่ละประเภทความพิการ 3) ด้านกีฬาและนันทนาการ ส่งเสริมให้คนพิการได้มีโอกาสรับการฝึกฝนพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาสู่นักกีฬาอาชีพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธิดารัตน์ นงค์ทอง. (2560). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.
พวงแก้ว กิจธรรม. (2555). ปี 2555 ถึงเวลาใช้พลังคนพิการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย.
รุ่งชฎาพร ใจยา. (2558). การสนับสนุนทางสังคมของผู้พิการในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เวชยันต์ ขันธะรี. (2556). คุณภาพชีวิตและภาวะซึมเศร้าของผู้พิการในเขตพื้นที่ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ส.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศมนรักษ์ สุวรรณทรัพย์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการทางการเคลื่อนไหวในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศินันท์ วาสิน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศิลปชัย วัชรชวกุล.(2566).ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว.วารสารมหาจุฬาวิชาการ,10(2),121-135.
สำนักนโยบายและวิชาการ. (2554). 4 ปี พก.สู่การเข้าถึงสิทธิคนพิการที่เป็นจริง. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.
สาคร นัคราบัณฑิตย์. (2555). การเข้าถึงสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ พ.ศ. 2550 ของคนพิการในเขตเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ รป.ม. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์. (2567). จำนวนคนพิการที่จดทะเบียนคนพิการ ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดกาฬสินธุ์.
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2550). ประเทศการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
อนัญญา เจียนรัมย์. (2557). ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัว. (2567). รายงานสถานการณ์จำนวนคนพิการในพื้นที่ตำบลหนองบัว. กาฬสินธุ์: องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัว.
Taro Yamane. Statistics : An Introductory Analysis. Third edition. New York : Harper and Row Publication.