ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แบบ 5Es สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 The Outcomes of using Skill Practice on Problem-Solving Skills of Counting for More Than 1,000 with the 5Es Inquiry-based Learning Process for Grade 2 Students

Main Article Content

รุ่งฤดี บุญวัง
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียน ด้วยกระบวนการ แบบ 5Es เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เทียบคุณภาพทางการเรียนรู้ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 ด้วยกระบวนการ แบบ 5Es ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอน 5 แผน 2) ชุดกิจกรรมแบบฝึกหัดทักษะการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ผลวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะที่เรียน ด้วยกระบวนการ แบบ 5Es การเรียนรู้ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมปีที่2  (E1 / E2) มีคุณภาพเท่ากับ 89.73/82.00 ซึ่งมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลของการใช้แบบฝึกทักษะ ที่จัดการเรียน ด้วยกระบวนการ แบบ 5Es ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 มีคุณภาพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05

Article Details

How to Cite
บุญวัง ร., & สมพงษ์ธรรม เ. (2024). ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แบบ 5Es สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2: The Outcomes of using Skill Practice on Problem-Solving Skills of Counting for More Than 1,000 with the 5Es Inquiry-based Learning Process for Grade 2 Students. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(2), 478–488. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5164
บท
บทความวิจัย
Author Biography

รุ่งฤดี บุญวัง, มหาลัยราชธานี

-

References

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัชพร อุทธาและคณะ. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงาน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพนาศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 55-72.

ธมลวรรณ ธีระบัญชร. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนร่วมสมัย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1), 182-201.

นิเวศน์ คำรัตน์และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(2), 111-122.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ ภูหัวไร่และคณะ. (2564). การศึกษาผลการเรียนรู้รายวิชาจลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี หน่วยกรด เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร โดยใช้ชุดกิจกรรมในการสอนแบบฉลาดรู้ (SICAR Model). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(81), 72-80.

วุฒิชัย ปูคะธรรมและคณะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชากลศาสตร์ หน่วยงานและพลังงาน โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 275-289.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร (2551).การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ที่ใช้ทักษะการให้เหตุผลและการเชื่อมโยงโดยบูรณาการสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลกับ สิ่งแวดล้อมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต,กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศราวุฒิ สาธุประคัลภ์,โกศล นัยเรืองรุ่ง. (2561). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาดุสิตพณิชยการ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 13(1), 15-24.

สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์.

Spenser Kagan. (1985). Cooperative Learning & Wee Science. San Clemento: Kagan Cooperative Learning.