เพศสภาพและการสมรสเท่าเทียมในมุมมองรัฐศาสตร์เชิงพุทธ Gender and Equal Marriage from a Buddhist Political Science Perspective

Main Article Content

พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า
วรเชษฐ์ โทอื้น

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีเป้าประสงค์ที่จะสะท้อนมุมมองความเสมอภาคของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่ ถึงแม้ว่าความเท่าเทียมทางเพศจะเป็นสิ่งที่ทั่วโลกยอมรับและให้การรับรองในทางสากลว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน สำหรับประเทศไทยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ได้มีการรับรองความเสมอภาคห้ามเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นแหล่งกำเนิด เพศสภาพและศาสนา แต่การที่จะทำให้ความเสมอภาคเกิดขึ้นจริงนั้นจำเป็นต้องมีกลไกและมาตรการเพื่อสร้างหลักประกันที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น การสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่จำกัดเฉพาะชายและหญิงเท่านั้นแต่จะครอบคลุมทุกเพศสภาพ ทั้งเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยจะก่อให้เกิดสิทธิในการหมั้น การจดทะเบียนสมรส การจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส การเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับคู่สมรส การรับมรดกเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิต การรับบุตรบุญธรรม การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น การรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม และการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิอื่น ๆ ทางกฎหมายที่รับรองสิทธิของคู่สมรส

Article Details

How to Cite
โพธิ์ชัยหล้า พ., & โทอื้น ว. (2024). เพศสภาพและการสมรสเท่าเทียมในมุมมองรัฐศาสตร์เชิงพุทธ: Gender and Equal Marriage from a Buddhist Political Science Perspective. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(2), 655–669. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5239
บท
บทความวิชาการ

References

กัญญภัค แมกกี้และพระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2563). ความหลากหลายทางเพศกับการบรรลุธรรมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (5), 200-216.

กรุงเทพโพล. (2567). ผลสำรวจเรื่อง “คิดเห็นอย่างไรต่อความหลากหลายทางเพศในเดือน “Pride Month” สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567.จาก : https://bangkokpoll.bu.ac.th/poll/result/poll1008.

ดวงพร ช่างทอง. (2565). การสมรสเท่าเทียมกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) มีพื้นที่แค่ไหนในสังคม. รายการเจตนารมณ์กฎหมาย, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ตรีนุช อิงคุทานนท์. (2564). ทำไมถึงมีคนเดือดร้อน หาก LGBTQ+ ได้สิทธิสมรสเท่าเทียม.Thairath Plus Politics & Society. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567.จาก : https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/100520.

ฐานเศรษฐกิจ. (2567). สมรสเท่าเทียมคืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567.จาก : https://www.thansettakij.com/politics/591956.

ปฐม มณีโรจน์ และเสน่ห์ จุ้ยโต. (2555). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการ. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดองค์การสารสนเทศ หน่วยที่ 2, นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไพฑูรย์ อุทัยคาม. (2566). การแต่งงานของคนเพศเดียวกัน. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์,9 (3),180-195.

โรงพยาบาลเพชรเวช. (2563). LGBTQ ความหลากหลายที่ต้องเข้าใจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567.จาก : https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/LGBTQ.

วิภารัตน์ ธาราธีรภาพ. (2560). การพัฒนาความเสอภาคทางการเมืองเชิงพุทธบูรณาการ.วารสารบัณฑิตศึกษาปริทัศน์, 13 (เล่มพิเศษ). 72-80.

วิริยา พิมพ์พันธ์. (2563). ความเสมอภาค: มีอยู่จริงหรือในพระพุทธศาสนา.วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 16-31.

สันทัด โพธิสา. (2567). ผู้นำประเทศที่เปิดตัวเป็น LGBT และการส่งเสริมความเท่าเทียม.สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567, จาก: https://www.thaipbs.or.th/now/content/1243.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชกฤษฎีกา. (2535). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567.จาก: https://jla.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/112/iid/121227.

Amnesty International Thailand. (2567). สิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ.สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567, จาก: https://www.amnesty.or.th/our-work/lgbt/.

Kimberle Crenshaw. (1989). Demarginalizing the Intersection of Race and Sex: A Black Feminist Critique of Antidiscrimination Doctrine, Feminist Theory and Antiracist Politics. University of Chicago Legal Forum. Volume 1989.

The LGBT center. (2024). LGBTQIA+ Vocabulary. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567.จาก: https://lgbtsewi.org/lgbtqia-vocab/.

University of Chicago Legal Forum. (1998). The Law of Sex Discrimination Volume 1998: The Right to a Fair Trial and Rethinking Environmental Protection for the 21st Century. University of Chicago Legal Forum.