แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนในเครือข่ายชัยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 Guidelines for developing the management of general Boy Scout activities by school administrators in order to enhance the desired characteristics of students Schools in the Chaiburi network Under the Suratthani Primary Educational Service Area Office 3

Main Article Content

ชาตรี เพชรกูล
ไตรรัตน์ สิทธิทูล

บทคัดย่อ

          สภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น ผู้วิจัยมีความมั่นใจว่ากิจกรรมลูกเสือสามัญช่วยปรับพฤติกรรมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ ผู้วิจัยจึงศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนในเครือข่ายชัยบุรี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) การบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในเครือข่ายชัยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนในเครือข่ายชัยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ตัวอย่างการวิจัย คือ ครูกิจกรรมลูกเสือสามัญ กำหนดขนาดตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน  จำนวน 113 คน เครื่องมือการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในเครือข่ายชัยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญ รองลงมา ด้านการติดตามและประเมินผล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านงบประมาณ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนในเครือข่ายชัยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร พบว่า มีแนวทางดังนี้ 1) ผู้บริหารกำหนดนโยบาย และวางโครงสร้างให้ชัดเจน โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 2) ต้องพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจกิจกรรมลูกเสือ 3) ผู้บริหารจัดทำแผนการจัดกิจกรรมลูกเสือตามหลักสูตรร่วมกัน 4) ผู้บริหารให้ความสำคัญในจัดสรรงบประมาณตามโครงการให้เพียงพอ 5) ผู้บริหารกำหนดจัดเตรียมเครื่องมือการติดตามและประเมินผล และนำผลที่ได้ไปพัฒนากิจกรรมลูกเสือสามัญต่อไป

Article Details

How to Cite
เพชรกูล ช., & สิทธิทูล ไ. (2024). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนในเครือข่ายชัยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3: Guidelines for developing the management of general Boy Scout activities by school administrators in order to enhance the desired characteristics of students Schools in the Chaiburi network Under the Suratthani Primary Educational Service Area Office 3. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(2), 519–533. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5302
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การลูกเสือไทย พัฒนาการในยุค 2546- 2548. กรุงเทพมหานคร.

ชัยณรงค์ สวนจันทร์และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2562). การส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความ คิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา.

ธัญลักษณ์ คล่องแคล่วและทักษ์ อุดมรัตน์. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 26(4).

นพดล เครือยา. (2556). การบริหารลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน์.

ภูมิบดี แก้วศรีสังข์. (2562). การจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. การศึกษาตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.

รวิ เต็มวนาวรรณ. (2563). การบริหารงานลูกเสือกลุ่มโรงเรียนทับใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรเดช จริงจังชนังกูล. (2559). แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วันใหม่ สืบชนะ. (2560). การศึกษาการบริหารงานลูกเสือสามัญในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศิรชัช สุทธิชาติ. (2557). กระบวนการบริหารกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีของผู้บริหารกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

ศุภฤกษ์ ศิโรทศ. (2561). แนวทางการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ. (2551). พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sampling size for research activities. Education Psychological Measurement, 30(3), 608-610.