การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มหาวิทยาลัยธนบุรี Evaluation of Master Education Program in Educational Administration Graduate School (Revised 2019) Thonburi University
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มหาวิทยาลัยธนบุรี ด้วยการใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST ประชากรทั้งหมดจำนวน 212 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ บัณฑิต นักศึกษา อาจารย์ผู้สอน ผู้บริหารหลักสูตร และผู้ใช้บัณฑิต เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มหาวิทยาลัยธนบุรี ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.50, S.D. = 0.64) โดยการประเมินบริบท (
= 4.69, S.D. = 0.52) และการประเมินกระบวนการ (
= 4.67, S.D.= 0.55) มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การประเมินผลกระทบ (
= 4.49, S.D. = 0.66) การประเมินการถ่ายโยงความรู้ (
= 4.48, S.D. = 0.65) การประเมินประสิทธิผล (
= 4.46, S.D. = 0.65) การประเมินความยั่งยืน (
= 4.46, S.D. = 0.70) การประเมินผลผลิต (
= 4.37, S.D. = 0.69) และการประเมินปัจจัยนำเข้า (
= 4.35, S.D. = 0.73) มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งการประเมินปัจจัยนำเข้าเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). 3 ปี อว. กับความสำเร็จการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวง.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561 (Education in Thailand 2018).กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
จุฑามาส ศรีทองคํา. (2562). การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019”. 15 พฤศจิกายน 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 69-77.
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์, กิตติมา พันธ์พฤกษา, และ สมศิริ สิงห์ลพ. (2564). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ (ฉบับ พ.ศ.2559) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณรงค์ พิมสาร, บังอร โกศลปริญญานันท์, และ พงษ์ศักดิ์ พัวพรพงษ์. (2563). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน, วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2), 315-324.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปดิวรัดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และฐิตวีร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2563). การเรียนการสอนแบบ E-Learning กับการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เป็นสือรูปแบบใหม่ทางด้านการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 17-31.
ปิยะธิดา ปัญญา. (2562). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(2), 179-193.
พรศักดิ์ สุจริตรักษ์, ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ, และ ชวน ภารังกูล. (2564). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(1). 338-349.
พัชราพร แก้วกฤษฎางค์, สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุขและปิยะนุช วิริเยนะวัตร์. (2566). ความสำคัญของวิชาการฝึกงานต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญาและทักษะทางพฤติกรรมนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(3), 288-309.
สืบพงษ์ ปราบใหญ่, รุ่งรัตนา เจริญจิตต์และยศระวี วายทองคำ. (2019). แนวทางการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5324-5343.
สุดารัตน์ อมรชาติ. (2564). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของโรงเรียนบ้านหินดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้รูปแบบซิปเปี้ยสท์. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สุรยศ ทรัพย์ประกอบ, เจนศึก โพธิศาสตร์และประธาน ประจวบโชค. (2564). ลักษณะเด่นสำคัญของรูปแบบการเป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษาครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 18(1), 33-42.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อังศินันท์ อินทรกำแหง, ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล, วิชุดา กิจธรธรรม, สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล, อรัญ วานิชกร, ศรัณย์ พิมพ์ทอง, และพิชชาดา สุทธิแป้น. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการพัฒนาหัวข้อวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยส่งผ่านคุณลักษณะที่ดีของการเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10(1), 42-62.
Stufflebeam, D. L., & Zhang, G. (2017). The CIPP evaluation model: How to evaluate for improvement and accountability. New York: The Guilford Press.