ความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2564 Lecturer and student satisfaction with learning support at the College of Law and Government, Sisaket Rajabhat University, for the Academic Year 2021
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภารกิจหลักที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปฏิบัติมี 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การดำเนินการตามภารกิจทั้ง 4 ประการดังกล่าว มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นที่ จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่า สามารถพัฒนาองค์ความรู้และผลิตบัณฑิต ที่ตอบสนองต่อ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศได้ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะบรรยากาศการเรียนการสอนมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน บรรยากาศที่ดีจะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดี มีความตั้งใจ มีเจตคติที่ดี ทำให้การเรียนรู้มี ประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ ประชากรตัวอย่างที่ให้ข้อมูลจำนวน 291 คน จากจำนวนประชากรที่เป็นอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาภาคปกติที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 สังกัดวิทยาลัยกฎหมาย และการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน แยกเป็นอาจารย์ผู้สอน จำนวน 22 คน และและนักศึกษาภาคปกติที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย การสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความพึงพอใจของอาจารย์ และนักศึกษาภาคปกติที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 สังกัดวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ผลวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 63.60 อาจารย์สังกัดสาขาวิชามีจำนวนมากสุด จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อย 36.40 ส่วนนักศึกษาภาคปกติ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จำนวน 167 คน คิดเป็นร้อยละ 62.10 สังกัดสาขาวิชารัฐศาสตร์มากสุด จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 40.50 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 2 จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 25.28 ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้สอนในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากด้านการให้บริการ ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย (= 3.68,S.D =0.73) ส่วนความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านอุปกรณ์ ค่าเฉลี่ยมากสุดอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย (
=3.87,S.D=0.79) อุปสรรค โสตทัศนูปกรณ์ในห้องเรียนไม่สมบูรณ์และพร้อมใช้งาน สภาพแวดล้อมรอบอาคารเรียนเมื่อเกิดฝนตกนักมักจะมีปัญหาบันไดขึ้นลงหน้าอาคารมีน้ำท่วมขังทำให้พื้นบันไดลื่นเสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายกับนักศึกษาและบุคลากร จุดให้บริการน้ำดื่มในแต่ละชั้นเรียนมีน้อย การดูแลระบบน้ำประปาภายในอาคารคณะให้ได้มาตรฐานและก๊อกน้ำชำรุดบ่อย สิ่งสนับสนุนในห้องเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน อุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานได้ ควรเพิ่มจอฉายกลางห้องทุกห้องที่มีการเรียนการสอน ควรเพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น ที่ฉีดป้องกันอัคคีภัย มีห้องเฉพาะให้นักศึกษาเพื่อทำงานและปรึกษาอาจารย์นอกเวลาเรียน ต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดเอกสารการเรียนการสอนให้พร้อมเมื่อเปิดภาคเรียน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ปทุมวดี แสงสุข. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้ระบบเครือข่ายภายใน ของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ประสพชัย พสุนนท์.(2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาตมหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(1), 158-159.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ.(2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ธนารีย์ เพ็ชรรัตน์.(2549).ความพงึพอใจของนักศึกษาต่อสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนการสอนของกองงานวิทยาเขตบางนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภาสกร จันทมงคลเลิศ.(2546).พัฒนาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพงานบริการ: กรณีศึกษา สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวัลย์ เทียนทอง (2548). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัทไทยแอร์พอร์ตส์กราวด์เซอร์วิสเซสจำกัด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
วิรุธน์ บัวงาม, สุภัทรา กลางประพันธ์และกรรณิการ์ พุ่มทอง.(2557). สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในทัศนะของนักศึกษาแพทย์แผนไทย.วารสารศรีวนาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 4(7), 28.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สมศักดิ์ ด้วงเจริญ.(2548). การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยา คาร สำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐานชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภัทรา กลางประพันธ์, ศรัณย์ ฉวีรักษ์และสมเจตน์ คงคอน.(2563). ความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการ เรียนรู้คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,7(2),142-155.
อาภากร ผดุงสัตยวงศ์.(2544).ความพึงพอใจต่อการบริการส่วนทะเบียนและประเมินผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อรรณพ คุณพันธ์, สุรชัย ศรีนาคและเฉลิมเกียรติ ณ ปั่น.(2552). การศึกษาสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรุโณทัย อุ่นไธสง.(2552).คุณภาพการให้บริการของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี .วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
Miller, H. (1981). A investigation of the effective school building utilization caused by a change in scheduling procedure. Dissertation Abstracts International, 32(3), 1235-A.