การออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐาน Wisdom base Exercise
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกกำลังกายเป็นการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย โดยคำนึงถึงความถี่ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ความแรงโดยใช้ค่าอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเป้าหมายหลัก ระยะเวลาใช้เวลา 20-60 นาที และชนิดของออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน ทั้งนี้ควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้สัมพันธ์กับบริบทพื้นที่และความต้องการของผู้ออกกำลังกาย บทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอการออกกำลังกายโดยใช้ภูมิปัญญาเป็นฐาน ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการออกกำลังกายตามหลักภูมิปัญญาการกีฬา การนำภูมิปัญญามาใช้เป็นท่าประกอบ เพลงประกอบ อุปกรณ์ประกอบในการออกกำลังกายและการนำมาใช้แบบผสมผสาน อย่างไรก็ตามควรประเมินความต้องการของผู้ออกกำลังกาย และต้นทุนภายในบริบทพื้นที่ เพื่อการออกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพลศึกษา. (2566). รายงานการสำรวจข้อมูลการออกกำลังกาย เล่นกีฬาและนันทนาการของประชาชน ประจำปี 2566. กรุงเทพมหานคร: กรมพลศึกษา.
กัตติกา ธนะขว้างและจันตนา รัตนวิฑูรย์. (2556). ผลของการรำไม้พลองมองเชิงเมืองน่านต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. พยาบาลสาร, 40(2):148-161.
กัตติกา ธนะขว้าง, ผ่องใส กันทเสน และรัตนากร ยศอินทร์. (2555). การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้านการรำไม้พลองประยุกต์กับการฟ้อนมองเชิงเมืองน่านต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2):81-93.
เกตุกนก เกตุทอง, กนกกาญจน์ คุปตะวินทุ และปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ. (2567). ประสิทธิผลของการออกกำลังกายโดยนวัตกรรมจานตาลหมุนมหัศจรรย์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก, 25(1):140-150.
คณิน ประยูรเกียรติ และพีรดล เพชรานนท์. (2566). การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดชัยนาท. วารสารคณะพละศึกษา, 26(2):28-39.
จันทร์ดา บุญประเสริฐ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย และโรจนี จินตนาวัฒน์. (2559). ผลของการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร, 43(พิเศษ):35-47.
ฐิติมา โกศัลวิตร และกัญญารัตน์ กันยะกาญจน์. (2561). การออกกำลังแบบสมดุล: ปลอดภัย ห่างไกลโรค. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(1):1-11.
ดาราวรรณ รองเมือง, ชวนชม พืชพันธ์ไพศาล, ฉันทนา นาคฉัตรีย์ และจีราพร ทองดี. (2566). ผลของการออกกำลังกายโดยท่ารำเท่งตุ๊กต่อความสามารถในการรู้คิดของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 24(2):279-289.
ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2559). การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยโบราณสำหรับเยาวชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(2):77-86.
นันธวัช นุนารถ. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34): 17-26.
นิพพาภัทร์ สินทรัพย์ และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2559). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และออกกำลังกายแบบรำตังหวายต่อระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1):73-86.
ปรัชญา ชมสะห้าย, กุลชาดา ศรีใส, สุดยอด ชมสะห้าย, ดุสิต สุขประเสริฐ และวนิดา โนรา. (2567). ประสบการณ์และแนวทางการพัฒนาการคอร์สออกกำลังกาย “ดาบมือเดียว”: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทรรศน์, 39(1):80-92.
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์ และพัชราภัณฑ์ ไชยสังข์. (2566). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการออกกำลังกายโดยใช้ท่านาฏศิลป์ประยุกต์สำหรับผู้สูงอายุ. Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities and Arts), 43(6):91-105.
ภูริช ตุ่นทอง และอนุชิตร แท้สูงเนิน. (2564).ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยกายบริหารและเต้นรำเต้าเต๋อซิ่นซีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(2): 117-130.
เรืองศรี ศรีสวนจิก, กิตติพงษ์ พลทิพย์, รักษ์สุดา ชูศรีทอง และสุพัตรา เชาว์ไวย. (2567). ผลของกิจกรรมรักษาอุโบสถศีลในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาต่อความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 14(1): 81-92.
สริสสา แรงกล้า, ปวีณ์สุดา เดชะรินทร์ และจิรภา แจ่มไพบูลย์. (2560). เปรียบเทียบผลการตอบสนองต่อการออกกำลังด้วยการเดินสายพานโดยฟังเพลงไทยและไม่ฟังเพลงในประชากรที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 27(2):53-57.
สุวัฒนา เกิดม่วง. (2559). การพัฒนารูปแบบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายแบบวิถีไทยของประชาชนบ้านท่าระหัด จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(1):66-78.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจกิจกรรมทางกายของประชากร พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
องค์อร ประจันเขตต์. (2567). กะลางยางยืด: นวัตกรรมสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง.วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2):33-38.