การส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา Promoting Personnel Performance Motivation Nakhon Ratchasima Provincial Local Government Promotion Office

Main Article Content

บุญวิภา เมฆา
ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ
สถาพร วิชัยรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นการส่งเสริมแรงจูงใจของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และการศึกษา 3) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรในการศึกษา คือ บุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 90 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแปรปรวนแบบทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นการส่งเสริมแรงจูงใจของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่าง 3) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแรงจูงใจการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ควรมีการส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ในด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อหน้าที่ที่การงาน เช่นความรู้ด้านกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวทางการบริหารงานท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ควรมีการพัฒนาทักษะการสื่อสาร เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมาการปรับปรุงระบบสวัสดิการให้สอดคล้องกับยุคสมัย สร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อกระตุ้นให้ข้าราชการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
เมฆา บ., พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ ธ., & วิชัยรัมย์ ส. (2024). การส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา : Promoting Personnel Performance Motivation Nakhon Ratchasima Provincial Local Government Promotion Office. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 87–100. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5437
บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ ปานประดิษฐ. (2560). แรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และ สุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย. (2563). แรงจูงใจในการทำงาน : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5(1), 424-435.

ณัฐวุฒิ พวงบานชื่น (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนาทิพย์ ขวัญทอง. (2566). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิราวัลย์ ศรีทอง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่บางพระ. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุรินทรวรวิทย์ พ่วนอุ๋ย อนุชิต บูรณพันธ์ และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). แรงจูงใจการทำงานในยุคปรกติใหม่. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(4), 227-244.

พิมพ์ชนก เฟื่องฟู. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามจรรยาข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. บริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรัญญา ชื่นชม. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภูมิภาคที่ 12.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิเชียร วิทยอุดม. (2556). พฤติกรรมองค์การ. นนทบุรี :ธนธัชการพิมพ์.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566 จาก https://www.koratdla.go.th.

สุภารัตน์ กุลโชติ. (2566). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.