ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย Servant Leadership of School Administrators Under Development of Learning Encouragement, Education Ministry, Loei Province

Main Article Content

ณัฐรดา แสวงผล
กรรณิกา ไวโสภา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 167 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ทดสอบค่า (t-Test) และการสังเคราะห์ความแปรปวนแบบทางเดียว (One way Anova) การหาค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทดสอบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe')


ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย 1) ด้านการโน้มน้าวใจ ผู้บริหารควรมีการกระตุ้น สนับสนุน ให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการทำงาน 2) ด้านการเข้าใจผู้อื่น ผู้บริหารควรรู้ เข้าถึง และเข้าใจในลักษณะพื้นฐานของตัวบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชา 3) ด้านการรับฟัง ผู้บริหารควร มีการรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่ายงาน ให้ความสำคัญกับการฟังโดยปราศจากอคติ 4) ด้านการมองการณ์ไกล ผู้บริหารควรเข้าใจสถานการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ 5) ด้านการรับผิดชอบร่วมกัน ผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจในภาระงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
แสวงผล ณ. . ., & ไวโสภา ก. (2024). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเลย: Servant Leadership of School Administrators Under Development of Learning Encouragement, Education Ministry, Loei Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 58–71. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5439
บท
บทความวิจัย

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

กรมส่งเสริมการเรียนรู้.(2566). ประวัติกรมส่งเสริมการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2566 จาก https://www.nfe.go.th

กีรติกรณ์ รักษาดี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กุลนันท์ อมรวุฒิกรณ์. (2562). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาฝึกงานในบริษัทจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชนิดา คงสำราญ. (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด. (2563). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นรินทร์ ไพเราะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. สารนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ: แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

__________. (2557).ภาวะผู้นำแบบบริการ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัย. มหาสารคาม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อภิชาติการพิมพ์.

สุพรรณนิภา นามกันยา.(2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, วิทยาเขตศรีล้านช้าง.

สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเลย.(2567).แผนปฏิบัติการ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเลย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567.เลย.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 608.