ประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลโนนศิลา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น Operational Efficiency of Non Sila Subdistrict Municipality Employees Non Sila District Khon Kaen Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
เทศบาลตําบลโนนศิลา มีอำนาจในการบริหารจัดการดูแลภายในองค์กรตามกฏหมาย ปัจจุบันพบข้อบกพร่องในการดำเนินของพนักงานเทศบาลตำบลโนนศิลา ซึ่งส่งผลให้การดำเนินการไม่เกิดประสิทธิภาพตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ และอาจส่งผลให้เทศบาล ไม่สามารถดำเนินการตามแผนและเป้าหมายในการพัฒนาไว้ ผู้วิจัยในฐานะบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายในเทศบาลตำบลโนนศิลา จึงมีความสนใจศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลโนนศิลา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลโนนศิลา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลโนนศิลา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่าและแบบแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลโนนศิลา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยเรียงลำดับที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้ดังนี้ ด้านคุณภาพงาน ด้านเวลา ด้านปริมาณงาน และด้านค่าใช้จ่าย ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลโนนศิลา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ควรมีการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลโดยผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นอย่างทั่วถึงเป็นธรรม รวมไปถึงการสร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงานเทศบาล และพนักงานเทศบาลควรมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่กันในการปฏิบัติงาน มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการทำงานไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่หรือไม่ ซึ่งจะทำให้งานของเทศบาลสำเร็จไปได้ด้วยดีและประชาชนมีความพึงพอใจ เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เฉลี่ย อุปภา. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม.(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เทศบาลตำบลโนนศิลา. (2567). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลโนนศิลา. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://nonsila.go.th/public.
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ รป.ม. (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มนูญ จันทร์สมบูรณ์ และศิวกร อินทร์พิทักษ์. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตําบลอ้อมใหญ อําเภอสามพราน จังหวดนครปฐม. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 12. 2479-2488.
วิษณุ ปัญญายงค์. (2561). หลักและเทคนิคการบริหารร่วมสมัย. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สาวิตรา สุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สมใจ ลักษณะ.(2554).การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
สิรินภา ทาระนัด. (2561). การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุทธิคุณ วิริยะกุล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุเทพ เชาวลิต. (2555). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
อทิติ เพ่งพิโรจ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล จังหวัดนราธิวาส. สารนิพนธ์ รป.ม. (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์