นวัตกรรมการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยและระบบป้องกันอัคคีภัยของโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย Management Innovation for Fire Safety and Fire Protection of Plastic Industry in Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พรรณาบริบทการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัย และระบบป้องกันอัคคีภัย 2) ระบุปัญหาที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยและระบบป้องกันอัคคีภัย และ 3) เสนอนวัตกรรมการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยและระบบป้องกันอัคคีภัย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ค้นคว้าจากเอกสารวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 4 กลุ่ม ได้เเก่ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ใช้งาน จำนวน 20 คน โดยใช้หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความปลอดภัยและระบบป้องกันด้านอัคคีภัย สถานประกอบการปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามกฎหมายและไม่สอดคล้องกับมาตรฐานกำหนด การละเลยของเจ้าหน้าที่รัฐในการตรวจสอบ 2) ปัญหาที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยและระบบป้องกันอัคคีภัย ประกอบด้วย (ก) ปัญหาการปฏิบัติ บังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐต่อผู้ประกอบกิจการ (ข) ปัญหาการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ของระบบป้องกันอัคคีภัยไม่เหมาะสม (ค) ปัญหาอุปกรณ์ขาดการตรวจสอบบำรุงรักษาตามมาตรฐาน (ง) ปัญหาการจัดการความปลอดภัยเกี่ยวกับแผนการตรวจตราประเมินความเสี่ยง มีความซับซ้อนในการระบุความเสี่ยง (จ) ปัญหาการไม่มีเจ้าหน้าที่ป้องกันและระงับอัคคีภัย (Fire man) ประจำสถานประกอบกิจการ และ (ฉ) ปัญหาจากหน่วยงานท้องถิ่นขาดการประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และ 3) นวัตกรรมการจัดการความปลอดภัยและระบบป้องกันอัคคีภัย แบ่งเป็น 5 ด้าน ด้านบริบทขององค์กร ด้านกฎหมายและมาตรฐาน ด้านระบบป้องกันอัคคีภัย ด้านการจัดการความปลอดภัย และด้านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหารจัดการ ดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย.(2555). ราชกิจจานุเบกษา, 130(2 ก),24-33.
กองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน.(2566). ข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ ปี 2562-2566.สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567 จาก: http://reg3.diw.go.th/safety/.
เกษมศานต์ ปทุมารักษ์ .(2550). ความประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัย.วารสารเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อัคคีภัย,1(1), 69-73.
ข้อบังคับสภาวิศวกร .(2551).ราชกิจจานุเบกษา,125 (178ง),23-26.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์,13(25), 103-117.
พงศ์สรร เทพคุ้มกัน .(2565). การตรวจสอบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของเครื่องตรวจจับควัน ชนิดโฟโต้อิเล็กทริกโดยอาศัยสนามแม่เหล็ก.วารสารการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 7,เล่ม 1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,122-130.
พีระยุทธ สุขสวัสดิ์ และชมภูนุช หุ่นนาค.(2563). แนวทางการขับเคลื่อนกลไกประชารัฐในการจัดการอัคคีภัย ของจังหวัดนนทบุรี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์,10(2),32-42.
สมมาศ เลิศลักษณ์อรรยา.(2559). ระบบป้องกันอัคคีภัยกับการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัย.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,6(3), 351-358.
สัณห์จุฑา วิชชาวุธ.(2564). รูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารสูง. Journal of Management Science Nakchon Pathom Rajabhat University,8(1),1-13.
อภิวัจน์ พัชรากรภิญโญ .(2563). การดำเนินการตามกฎหมายป้องกันอัคคีภัยอาคาร ของศูนย์การค้าขนาดใหญ่.วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา,8(2),90-107.
อภิวัจน์ พัชรากรภิญโญ และ จอมเดช ตรีเมฆ.(2565). รูปแบบความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอัคคีภัยในอาคารสูง ของประเทศไทย.วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(2),11-27.