รููปแบบการจัดการการอนุรักษ์ว่าวจีน : งานฝีมือเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ในหมู่บ้านหยางเจียบู มณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน Chinese Kite Conservation Management Model: Crafts to Promote Identity in Yangjiabu Village Shandong Province, People's Republic of China
Main Article Content
บทคัดย่อ
ด้วยเศรษฐกิจในพื้นที่ซานตงระดับสูงคือการผลิตยานยนต์อาจทำให้ภาคธุรกิจลดความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมลดลงไป และทั้ง ๆ ที่พื้นที่ได้รับการประกาศจากองค์การ UNESCO ให้เมืองเว่ยฟางเป็นเมืองสร้างสรรค์แห่งงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ปัญหานี้จึงไม่อาจมองข้ามได้ ดังนั้นแล้วงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาประวัติและวิเคราะห์ลักษณะงานหัตถกรรมว่าวจีนในหมู่บ้านหยางเจียบู เมืองเว่ยหยาง มณฑลซานตง 2) วิเคราะห์คุณค่าของว่าวในหมู่บ้านหยางเจียบู เมืองเว่ยหยาง มณฑลซานตง 3) เสนอรูปแบบการจัดการอนุรักษ์หัตถกรรมว่าวให้เป็นอัตลักษณ์ของหมู่บ้านหยางเจียบูอย่างยั่งยืน วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน โดยการวิจัยคุณภาพได้ศึกษาข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ เอกสารจากนักวิชาการ รูปแบบของงานศิลปะศึกษาจากศิลปิน และสัมภาษณ์ผู้สืบทอดวัฒนธรรม และชาวบ้านในท้องถิ่น จำนวน 30 คน การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ขนาดตัวอย่าง 200 คน และทำการวิเคราะห์ SWOT ต่อการกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมในพื้นที่จุดชมวิวหยางเจียบู
ผลการวิจัยพบว่า ด้านประวัติความเป็นมาของว่าวหยางเจียบู สามารถสืบย้อนไปถึง ค.ศ.549 และมีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงสมัยราชวงศ์หมิง มีหลักฐานที่มีการทำว่าวในหมู่บ้านหยางเจียบู จนถึงปัจจุบันว่าวไม่ได้เป็นเพียงของเล่นสำหรับเด็กเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีและความสุขอีกด้วยซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงงานฝีมือศิลปะพื้นบ้านที่มีมายาวนาน และเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทางสัญลักษณ์ ทางสุนทรียะ ทางวิชาการและทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีการผลิตด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ จำนวนผู้สืบทอดว่าวที่ทำด้วยมือจึงค่อย ๆ ลดลง ส่งผลให้ผู้สืบทอดว่าวขาดแคลนเป็นปัญหาที่จะต้องมีการจัดการที่จะปกป้องและอนุรักษ์งานฝีมือว่าวหมู่บ้านหยางเจียบู รูปแบบการอนุรักษ์จึงสร้างกลยุทธ์ทางการศึกษาและกระบวนการผลิตให้กับเยาวชนในพื้นที่ มีความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ เปิดพื้นที่การเล่นว่าวกับความสำคัญของลมหยางเจียบู กำหนดนโยบาย ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วม มีการจัดนิทรรศการ การสัมมนากิจกรรมทางวัฒนธรรมในพื้นที่และนอกพื้นที่ นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนิก เลิศชาญฤทธ์, (2554). การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน).
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ.(2566). คู่มือดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ยูเนสโก.(2565). มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มรดกทางวัฒนธรรมที่กำหนดโดย UNESCO.สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2567 จาก https://zh-m-wikipedia-org.translate.goog/zh-hans/.
รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา.(2561).การวิจัยทางการศึกษา.ยะลา: ศูนย์ส่งเสริมการทำผลงานวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วิกิพีเดีย.(2566). มณฑลซานตง.สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2567 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/มณฑลชานตง.
อินทิรา พงษ์นาค, ศุภกรณ์ ดิษฐ์พันธุ์ (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. Verridian E-Journal, Slipakon University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และ ศิลปะ, 8(3),511-523.
Cheng Yuezhu, (2024). Flight of kites. Retried from http://www-chinadailyhk- com.translate.gong/hk/article
Dinu, A.-M. (2012). Modern Methods of Identification in Risk Management. International Journal of Acadrmic Research in Economics and Management Sciences, 1(6), Pages 67-71.
English Heritage, (1997). Sustaining the Historic Environment: Newperspectives on the Future. London: English Herlitage.
Fang Xiao. (2022). Digital Cultural and Creative Design of Yangjiabu Woodblock Lunar New Year Picture Based on Image Narration. Retried from http://www.designartj.com/ch/reader.
Guo Wenjing, Zhao Yuzong, Sun Yanan. (2022). The Interweaving of tradition and Modernity: A Study on Intangible Cultural Heritage Tourism Practice -- A case study of Yangjiabu Village, Weifang City. Shandong Province, Pages 113-115.
Guo Wenjing. (2023). Research on development mechanism and optimization strategy of Yangjiabu intangible cultural Heritage Tourism. based on the perspective of actor network theory. Pages 27 -37.
Huang Zhikuan, Jiang Fang, Yang Yiyin, Tan Xuyun, (2016). Report on survey of urban identity in different types of cities. Retried from https://www-pishu-com.
Ren Xiaoshu. (2019). Kites (Book). Chongqing Publishing House, Pages 67-94.
Wang Xudong, Xie Xudong. (2023). Urban Architecture (Journal) : A Study on the planning Regional Culture: A case study of Yangjiabu.Cultural Tourism Dream Town.Pages 80.
Wikipedia. (2024). Intangible Cultural Heritage Preservation Technology and Preservation Personnel of the Republic of China. Retrieved from https://zh-m-wikipedia- org.translate.goog/zh-hans/.
Xinhua. (2024). “Kite capital” advances modernization while preserving heritage. Retrieved from https://english.news.cn/20240112/c338bf.
Zhang Cuiping, (2023). Research on6n6 service quality improvement of Weifang Yangjiabu Folk Customs Grand View Garden based on modified IPA method. GUILIN UNIVERSITY OF TECHNOLOGY. Pages 16-19.