ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย Factors affecting the Propagation of Buddhism among the Sanghas in Chiangkhan District, Loei Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ พบว่า บทบาทด้านการเผยแผ่เป็นหน้าที่หลักของพระสงฆ์ทุกรูปที่ได้รับมอบหมายจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งพระสงฆ์ส่วนใหญ่มีแนวคิดวิธีการเผยแผ่ ประกอบด้วย แนวคิดการปกครอง แนวคิดสาธารณสงเคราะห์ โดยการเผยแผ่แบบดั้งเดิมคือ การแสดงธรรมเทศนา 2) การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย พบว่า ปัจจัยด้านศาสนธรรม พระสงฆ์มุ่งเผยแผ่ธรรมพื้นฐานเน้นการทำทาน รักษาศีล ภาวนา ปัจจัยด้านศาสนบุคคล พระสงฆ์และสามเณรบางวัดยังมีข้อบกพร่องด้านศีลาจารวัตรอยู่บ้าง ปัจจัยด้านศาสนสถานทุกวัดมีศาสนสถานต่างๆ สมบูรณ์เอื้อต่อการเผยแผ่อย่างยิ่ง ปัจจัยด้านศาสนพิธี มีความเหมาะสมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมและบุญประเพณีต่างๆ อย่างยั่งยืน และปัจจัยด้านศาสนวัตถุ วัดมีตู้เก็บหนังสือพระไตรปิฎกแต่ยังไม่มีการนำมาใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนารวมทั้งยังไม่ได้เผยแผ่ผ่านสื่อทันสมัย และ 3) จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมระดับประเทศ พบว่า พระสงฆ์และสามเณรทุกวัดจะต้องได้รับการพัฒนาจากองค์กรปกครองสงฆ์ให้เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชุมชนและมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยใช้หลักการ “บวร” คือ บ้าน วัดและราชการร่วมมือสามัคคีอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). ประวัติความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระครูปลัดพีระ จำพวังค์. (2564). การบริหารวัดด้วย “บวร”. วารสารชัยมงคลปริทรรศน์, 1(2), 33.
พระครูสุธีจริยวัฒน์. (2562). บทบาทของพระสงฆ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง, 2(1), 4-5.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต).(2556).พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2567 จาก: http:www.dhammathai.org /thailand/contemporary.php.
พระมหาชูชาติ จิรสุทฺโธ.(2565). การบูรณาการการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 211.
พระมหาสมชาย กลิ่นจันทร์และคณะ. (2559). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา: การพัฒนารูปแบบและวิธีการเชิกรุกของคณะสงฆ์ไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 207.
พระมหาสุริยา อภิวฑฺฒโน (มะสันเทียะ). (2563). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักโอวาทปาติโมกข์:หลักการ อุดมการณ์และวิธีการ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 361-362.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมุทร สงวนสิน. (2566). การดำเนินการเกี่ยวกับศาสนสมบัติของวัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์ ร้อยเอ็ด, 2(2), 84.
สิรภัทร อาวอร่ามรัศมิ์และคณะ. (2562). ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2559 - 2568). วารสารบัณฑิตศาสน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17(1), 2-8.