การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของครูโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 Distance Education Management via Satellite of Teachers in Small-sized School Under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 2

Main Article Content

วนิดา แสงจันทร์
พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์
สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล

บทคัดย่อ

สำหรับประเทศกำลังพัฒนาการสร้างมาตรฐานทางการศึกษานับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนับว่าเป็นทางออกที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการสร้างมาตรฐานและความเสมอภาคในการจัดการศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและเปรียบเทียบความแตกต่างในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของครูโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครูโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test


ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของครูโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านบริบทของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของครูโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
แสงจันทร์ ว., เพชรสถิตย์ พ., & ศิริวิศิษฐ์กุล ส. (2024). การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของครูโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2: Distance Education Management via Satellite of Teachers in Small-sized School Under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 2. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 146–159. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5569
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา จันทร์ประเสริฐ และคณะ. (2565). การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม(DLTV) ในสถานการณ์ Covid-19 ของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3.วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 8(3), 85–95.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

_______________. (2564). แผนปฏิบัติราชการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2563 – 2565. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2566 จาก https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/03/digital-63-65.pdf.

ชนกพร ตุ้มทอง. (2560). การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ครูตู้ . สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2566.

จาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/bcj/2559/doc/2559_11_4.pdf.

จตุพร เชยสาคร. (2561). การประเมินโครงการโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมของ โรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มโรงเรียนพงตึก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรีเขต2.การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพชรไพลิน สอนทิพย์. (2563). การประเมินโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV ของโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,7(10), 8–9.

วรรณา เครือบคนโท. (2560). การประเมินโครงการขยายผลการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (2567). ข้อมูลบุคลากร ในสังกัดสพป.ปทุมธานี เขต 2. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2567. จาก https://ptt2.go.th/home/personnel/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2566) รายละเอียดคุณลักษณะและขอบเขตงาน (Terms of References : TOR) โครงการจัดสรรครุภัณฑ์ทดแทนห้องเรียน DLTV สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 7,914 โรงเรียนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้น เมื่อ 23 ธันวาคม 2566. จาก https://www.obec.go.th/archives/747113.

อังสนา อินทิม. (2564). การประเมินและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา), พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (2006). Research in education (10th ed.). Boston, MA: Allyn and Bacon.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.

Lee, K., & Kim, J. (2022). Examining Satellite-Based Distance Education Programs: A CIPP Model Analysis. Journal of Distance Education Administration, 25(4), 301-317.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (1971). Educational evaluation and decision making. Itasca, IL: Peacock.

UNESCO. (2021). Education and Technology. Retrieved from https://www.unesco.org/en/education.

World Bank. (2018). World Development Report: Learning to Realize Education’s Promise. Retrieved from https://www.worldbank.org/en/publication/wdr2018.