พฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ Retirement Saving Behavior of Employees of the Government Housing Bank, Head Office
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวางแผนทางการเงินของคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับการใช้ชีวิตหลังจากไม่ได้ทำงาน ดังนั้น โอกาสที่ “เกษียณไม่รอด” จึงมีสูง คือ ผู้สูงอายุที่เกษียณแล้วมีเงินไม่พอใช้ จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีเงินเก็บจำนวนไม่น้อย จึงจะสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีคุณภาพในระดับหนึ่ง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์สำนักงานใหญ่ จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า ระดับพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านรูปแบบการออมเพื่อการเกษียณ และน้อยที่สุด คือ ด้านการวางแผนการออมการจัดสรรการออมเพื่อการเกษียณ การเปรียบเทียบพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรด้านอื่นๆ ไม่พบความแตกต่าง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองทุนการออมแห่งชาติ. (2554). พรบ.กองทุนการออมแห่งชาติ. Retrieved from. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2567 จาก: http://www.nsf.or.th.
ซานียะฮ์ ช่างวัฒนกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชน จังหวัด สตูล. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธูรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขสนครินทร์.
ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2566). รายงานประจำปี. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567. จาก: https://www.ghbank.co.th/information/report/annual-report/.
ธนาคารแห่งประเทศ. (2566). วางแผนการเงินการออม. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567. จาก: https://www.bot.or.th/th/satang-story/money-plan/saving.
ธนาวุฒิ ธีรกิติกรและสมศรี เวิ่นทอง. (2563). แนวทางการออมเงินเพื่อเตรียมความพร้อมในการเกษียณการทํางานของประชากรในภาคกลาง. วารสารธุรกิจอุตสาหกรรม, 2(2), 40-58.
ธนันธร มหาพรประจักษ์. (2563). เริ่มต้นการออมกับปณิธานปีใหม่. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2567. จาก : https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand.
นเรศ หนองใหญ่. (2560). พฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2533). รูปแบบการควบคุมวิทยานิพนธ์. โครงการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ลลินทิพย์ หาคำ. (2561). พฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์และธนภรณ์ เนื่องพลี. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ธุรกิจและภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). อนาคตผู้สูงอายุไทย. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567 จาก: https://ipsr.mahidol.ac.th/post_multimedia.
Bernheim,B.D.,& Garrett, D.M. (1996).The Determinants and Consequences of Financial Education in the Workplace: Evidence from a Survey of Households. NBER Working Paper No. 5667.
Koijen, R.S.J., & Yogo, M. (2016). The Cost of Financial Frictions for Life Insurers. American Economic Review, 106(8), 2308-2341.
Lusardi, A., & Mitchell, O.S. (2011). Financial literacy and retirement planning in the United States. Journal of Pension Economics & Finance, 10(4), 509-525.
Yamane, Taro. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.