การรับรู้ผลกระทบของการเสพน้ำกระท่อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ Factors Affecting High School Students' Perception of the Impact of Kratom Water Consumption in Phayuhakiri District Nakhon Sawan Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารเสพติดกระท่อมเป็นสารเสพติดที่ถูกปลดจากสารเสพติดประเภทที่สองทำให้มีการแพร่หลายไปทุกกลุ่มในขณะที่สารเสพติดกระท่อมยังส่งผลกระทบต่อร่างกายหากสารเสพติดนั้นยังขาดความรู้ความเข้าใจนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนับเป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องรับการดูและและเฝ้าระวังอย่างยิ่งยวด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ผลกระทบของการเสพน้ำกระท่อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ผลกระทบของการเสพน้ำกระท่อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีผลต่อความคิดเห็นของการรับรู้ผลกระทบของการเสพน้ำกระท่อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า การรับรู้ผลกระทบของการเสพน้ำกระท่อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.85, S.D =.344) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านจิตใจ ด้านครอบครัว/สังคม และด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ยรองลงมา ตามลำดับ
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ ศาสนา ระดับชั้น สายที่เรียน เกรดเฉลี่ย ค่าใช้จ่ายต่อเดือน สถานภาพทางอยู่อาศัย สถานภาพทางครอบครัว ที่มีการรับรู้ผลกระทบของการเสพน้ำกระท่อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บุญชม ศรีสะอาด.(2560). การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเกี่ยวกับ กิจกรรมเสริมหลักสูตร: วารสารการศึกษา.15(2), 45-58.
ปัณณทัต ตันธนปัญญากร,ทัศนพรรณ เวชศาสตร์,นลพรรณ ขันติกุลานนท์.นลพรรณ ขันติกุลานนท์และอภิเชษฐ์ จำเนียรสุข.(2566).ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อม ของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านกระแชง จังหวัดปทุมธานี.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,18(2),45-59.
ประกายเพชร แก้วอินทร์,ภุชงค์ เสนานุช.(2561).ปัจจัยส่วนบุคคลสังคมและระดับความรู้ที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุและพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดชนิด 4x100 ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขต 8 และ 9.วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์,26(2),205-233.
เสริมศักดิ์ ขุนพล.(2563).การสื่อสารและการแสดงอัตลักษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มน้ำกระท่อมบนสื่อสังคมออนไลน์.วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม,8(2),46-54.
สมฤดี เอี่ยมฉลวย.(2560).ผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของผู้ใช้ใบกระท่อมที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาสารเสพติด.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.(2564).รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
ศุภกิตติ์ เลขวิจิตร์,จิตติมา ดำรงวัฒนะ,พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์และบุญยิ่ง ประทุม.(2563).พฤติกรรมของเยาวชนที่เสพติดน้ำกระท่อม กรณีศึกษา กลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารสังคมพัฒนศาสตร์,3(1),16-29.
วุฒิเชษฐ รุ่งเรือง.(2563).พิษวิทยาของพืชกระท่อม.วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล,30(2),118-124.
อำนวย ธัญรัตน์ศรีสกุล.(2565).พืชกระท่อมกับการดูแลสุขภาพของคนไทย.วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ,5(1),1-9.
Bennett, S., & D’Onofrio, B. M. (2017). The effects of substance use on academic performance: A review of the literature. Journal of Adolescent Health, 60(6), 705-711.
Likert, R. A. (1961). The method of constructing an attitude scale. In R. Likert (Ed.). New York: McGraw-Hill.
Pettigrew, J., & Cukier, S. (2019). Adolescent substance use and its impact on academic performance: A review. Journal of Adolescent Health, 64(3), 283-290.
Zhao, X., & Lee, J. (2020). Perceptions of substance use and its impact on academic and social functioning among adolescents. Substance Use & Misuse, 55(8), 1245-1254.