คุณภาพการให้บริการระบบเยี่ยมญาติทางไกลผ่านจอภาพ โดยแอปพลิเคชันไลน์ของผู้ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง Quality of Service for the Application Line Video Conference Televisit for Prisoners of the Women Correctional Institutions for Drug Addicts
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบการเยี่ยมญาติทางไกลผ่านจอภาพ เป็นทางเลือกที่สำคัญในการติดต่อระหว่างญาติกับผู้ต้องขัง ทั้งช่วยอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในกระบวนการเยี่ยมญาติ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการระบบเยี่ยมญาติทางไกลผ่านจอภาพ โดยแอปพลิเคชั่นไลน์ ของผู้ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการระบบเยี่ยมญาติทางไกลผ่านจอภาพ โดยแอปพลิเคชั่นไลน์ของผู้ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ระดับคุณภาพการให้บริการระบบเยี่ยมญาติทางไกลผ่านจอภาพ โดยแอปพลิเคชันไลน์ ของผู้ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.32, S.D =.603) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเสมอภาคและเท่าเทียม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาด้านความตรงตามกำหนดเวลา ด้านความก้าวหน้าในการปรับปรุงการให้บริการ ด้านความสม่ำเสมอในการให้บริการ และด้านความเพียงพอและเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการระบบเยี่ยมญาติทางไกลผ่านจอภาพ โดยแอปพลิเคชันไลน์ ของผู้ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง ไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกษม อิทธิวุฒิ. (2566). ความพึงพอใจต่อการเยี่ยมญาติทางไกลผ่านจอภาพ และผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของเรือนจำกลางบางขวาง. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
โชคชัย พันธุพล, ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา,อิงอร ตั้นพันธ์. (2566). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเยี่ยมผู้ต้องขัง ผ่านจอภาพด้วยแอปพลิเคชันไลน์ของเรือนจำพิเศษมีนบุรี.วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์,6(4),135-146.
บุญชม ศรีสะอาด. (2534).รูปแบบของการควบคุมวิทยานิพนธ์. ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 4(2), 15–27.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประจำปี 2561. กรุงเทพฯ:สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
สิทธิกร สมบูรณ์พร้อม, สามารถ อัยกรและชาติชัย อุดมกิจมงคล.(2564).คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม.วารสารบัณฑิตศึกษา,18(80),127-134.
อรรควุฒิ ปันผาง, อรุณ ไชยนิตย์และ อนันต์ รุ่งพรทวีวัฒน์.(2566).ประสิทธิผลโครงการเยี่ยมญาติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง.วารสารศิลปการจัดการ,7(3),1136-1155.
Davidson, A. C., & Williams, R. M. (2015). Service quality in correctional facilities. Journal of Correctional Health Care. 21(3), 145-156.
Juran. (1989). Juran on Leadership for Quality. Free Press, New York.
Likert, R. (1932). A technique for measurement of attitudes. Archives of Psychology,(140), 5-55.
Millet, John D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw Hill Book.