การจัดการมหาวิทยาลัยสีเขียวในประเทศไทย Green Management of Universities in Thailand

Main Article Content

พัลลภ ศรีอ่อนคง
สุพัตรา ยอดสุรางค์
ฐิติมา โห้ลำยอง

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ที่มีพื้นที่การใช้งานหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นส่วนบริหาร ส่วนการศึกษา ส่วนกีฬาและกิจกรรมนันทนาการ ทั้งนี้การบริหารจัดการสถานที่จำเป็นต้องมีงบประมาณและนโยบายในการจัดการพื้นที่และระบบสาธาราณูปโภคที่ดีไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้มหาวิทยาลัย สิ้นเปลืองงบประมาณ  ทั้งนี้มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) เป็นการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย ในรูปแบบการบูรณาการด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ได้นำเข้าไปอยู่ในการเรียนการสอน การวิจัยและในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและ รู้จักการใช้พลังงานอย่างมีประโยชน์และคุ้มค่า ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม


บทความนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับดำเนินงานมหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งข้อมูลเกิดจากการสังเคราะห์ทางเอกสาร (Documentary study) และกรณีศึกษา (Case Study) จากการจัดมหาวิทยาลัยสีเขียวในประเทศไทย ซึ่งการจัดการมหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นมาตรการหนึ่งที่จะสนับสนุนการดำเนินงานนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งประกอบด้วย 1. ความหมายของมหาวิทยาลัยสีเขียว 2. ความสำคัญของมหาวิทยาลัยสีเขียว 3. เกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว มีทั้งสิ้น 6 เกณฑ์ 4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย 1) การกําหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต้องมีความชัดเจน 2)การมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย 3) การกําหนดตัวชี้วัดเป้าหมาย การติดตาม ประเมินผล 4) การบูรณาการกิจกรรม/โครงการด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับการดําเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย 5) การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

Article Details

How to Cite
ศรีอ่อนคง พ., ยอดสุรางค์ ส. ., & โห้ลำยอง ฐ. . (2024). การจัดการมหาวิทยาลัยสีเขียวในประเทศไทย: Green Management of Universities in Thailand. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 631–642. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5579
บท
บทความวิชาการ

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2555). มหาวิทยาลัยสีเขียว อีกหนึ่งความห่วงใยใส่ใจสังคม. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2567 จาก http://www.oknation.net/blog/kriengsak/2008/02/07/entry-1.

โมทนา สิทธิพิทักษ์, สิริฉันท์ สถิรกุล และคณะ. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,49(2), 1-10.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2557).ลักษณะของมหาวิทยาลัยสีเขียว. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2567 จาก www.psru.ac.th/pdf/logo_contest.pdf.

มหาวิทยาลัยแห่งอินโดนีเซีย (Universitas Indonesia).(2566). การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก.สืบค้น 25 พฤษภาคม 2567 จาก https://greenmetric.ui.ac.id/.

ยูไอ กรีนเมตริก (UI Green Metric). (2566). คู่มือ : การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก.สืบค้น 20 พฤษภาคม 2567 จาก https://greenmetric.ui.ac.id/publications/guidelines.

วราลักษณ์ คงอ้วน. (2554).การจัดการพื้นที่สีเขียวในสถาบันศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์,13(2),74-87.

ปิยะมาศ สามสุวรรณ. (2555).การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.

สถาบันคลังสมองของชาติ. (2557). เอกสารประกอบการประชุม Green Campus Workshop. 20 กุมภาพันธ์ 2557. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2566).แผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567 จาก http://www.ops.go.th/th/ohec.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2550).รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.onep.go.th/book/soe2550/.