การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น : แนวคิด ประเด็นสำคัญและอนาคตการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในประเทศไทย Decentralization and Local Governance: Concepts, Key Issues, and the Future of Provincial Governor Elections in Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญในระบบการบริหารจัดการของประเทศไทย บทความนี้ได้วิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานของการกระจายอำนาจในมิติของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนสำรวจโครงสร้างการบริหารปัจจุบันและปัญหาที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าแม้จะมีความพยายามในการกระจายอำนาจ แต่ยังคงมีข้อจำกัดในด้านนโยบายและการบริหารที่ต้องแก้ไข บทความนี้เสนอแนวทางพัฒนาระบบการกระจายอำนาจในอนาคตเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรม ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่น
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย โดยเน้นที่ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย ประเด็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาการใช้สิทธิของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในประเทศไทย 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนต่อผลที่ได้จากการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และพัฒนาการของการกระจายอำนาจ ตลอดจนความท้าทายและโอกาสที่การปกครองท้องถิ่นจะเผชิญในอนาคต โดยเน้นไปที่การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้นการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นสิ่งที่ดี มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยจากฐานรากไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยระยะยาวของประเทศ ประเทศไทยมีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะว่าประเทศไทยมีการเลือกตั้ง อบต. และมีการเลือกตั้ง อบจ. กันมาตั้งหลายครั้งแล้ว ประชนมีความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นอย่างดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงมหาดไทย.(2555). หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งลักษณะงานที่ปฏิบัติ ความรู้ความสามารถที่ต้องการ และคุณสมบัติของตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด.สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2567 จากhttp://www.personnel.moi.go.th/work/work2/examiner/pong/pong_02.doc.
โกวิทย์ พวงงาม. (2554). การกระจายอำนาจการปกครอง. วารสารการเมืองและการบริหารท้องถิ่น, 12(1), 45-67.
ธเนศวร์ เจริญเมือง.(2566a). การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น Decentralization. เชียงใหม่: ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2566b). ผู้ว่าฯเลือกตั้ง โดยประชาชน The Governor by People’s Election. เชียงใหม่: ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่.
ดาวนภา เกตุทอง.(2563). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น.วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์,3(2),46-57.
ไพฑูรย์ โพธิสว่าง และวิเชียร ตันศิริ.(2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้นําทางการเมืองของประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภิรมย์พร ไชยยนต์. (2557). การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น: ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134, ตอนที่ 40 ก, หน้า 19-20, 67-70.
ลิขิต ธีรเวคิน.(2549). หลักการประชาธิปไตย 12 ประการ ที่นักการเมืองต้องเข้าใจและยึดถือ.สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2567 จาก https://mgronline.com/daily/detail/9490000055325.
วุฒิสาร ตันไชย.(2558). การกระจายอำนาจรัฐเพื่อการยกระดับประชาธิปไตยและสร้างความเป็นธรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
สุกิจ เจริญรัตนกุล (บก.). (2529). การเมือง-การบริหารราชการไทย: รวมบทความนักวิชาการต่างประเทศ ภาค 1 - ภาค 6. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.