แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี Work motivation of employees of local government organizations in Kumphawapi District Udon Thani Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
แรงจูงใจในการทำงานถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการให้บริการประชาชนในพื้นที่ การที่บุคลากรมีแรงจูงใจในการทำงานที่เพียงพอและเหมาะสม ย่อมส่งผลให้การทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 246 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ T-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันกับทางสถิติ 3) แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนและท้าทาย สนับสนุนให้มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงาน จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรและเส้นทางการก้าวหน้าในงานที่ชัดเจน พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนและสวัสดิการให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ส่งเสริมการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานและผู้บังคับบัญชา กำหนดนโยบายที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร จัดเตรียมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและสะดวกสบาย และส่งเสริมการบริหารงานแบบเปิดเผยและโปร่งใส
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราพร แย้มบาล. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฏฐพันธ์เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฐมน พหลทัพ. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลดงลิง กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญารัฐศาตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวรีิยาสาส์น.
วรรณา อาวรณ์. (2557). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภา ระดับปฏิบัติงาน สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี. (2566). รายงานประจำปี 2566 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: ท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี.
สุเทพ เชาวลิต. (2555). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
สุพัตรา จุณณะปิยะ.(2560).แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 6(1).
สุมาลี แสงสว่าง. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับสมรรถนะหลักของบุคลากร ในกรมราชทัณฑ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเพพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุรีย์พร พึงไชย. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Herzberg, Frederick, Bernard Mausner and Barbara Bloch Snyderman. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.