ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ Factors affecting the performance of duties of community development volunteers in Sam Chai District Kalasin Province

Main Article Content

ศิรินทร์ทิพย์ ยศเฮือง
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ และ3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาพัฒนาชุมชน จำนวน 119 คน โดยการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำแบบรับใช้ และปัจจัยด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .733 สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรได้ ร้อยละ 53.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาพัฒนาชุมชน รวมถึงการพิจารณาเงินค่าตอบแทนและการเพิ่มสวัสดิการที่เหมาะสม นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการทำงานตามระบอบประชาธิปไตย โดยการสอบถามความต้องการของประชาชนและเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาหมู่บ้าน การจัดกิจกรรมจิตอาสาภายในชุมชนเพื่อพัฒนาด้านต่าง ๆ ร่วมกับคนในชุมชนจะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือในกระบวนการพัฒนา ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาวะผู้นำของอาสาพัฒนาชุมชน โดยเน้นการสร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน พัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ยศเฮือง ศ., โกศลกิตติอัมพร เ., & เคณาภูมิ ส. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์: Factors affecting the performance of duties of community development volunteers in Sam Chai District Kalasin Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 309–324. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5622
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2559). แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์. กรมการพัฒนาชุมชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรมการพัฒนาชุมชน.

กรมพัฒนาชุมชน. (2557). คู่มือสนับสนุนการปฏิบัติงานผู้นำอช. ต้นแบบ. กรุงเทพ : สำนักงานส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ชาญชัย จิวจินดา และสมบูรณ์ สุขสาราญ. (2560). ยุทธศาสตร์การสร้างผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ของกรมการพัฒนาชุมชน. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 3(1-2), 84-98.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่12). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ธวัชชัย อุทาทิพย์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงออกตามบทบาทหน้าที่ของผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนในงานพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวรีิยาสาส์น.

พิสิฐ โอ่งเจริญ. (2563). รูปแบบการเพิ่มประสิทธิผลในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อการพัฒนาชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอรทกรุงเทพ, 9(1). 67-68.

สมพร เทพสิทธา. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. สำนักพิมพ์ธรรมสาร. กรุงเทพฯ.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์. (2567). จำนวนอาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ในเขตพื้นที่อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์.

สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์. (2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่แท้จริงในผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเพพฯ: มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Blanchard, K., & Kirby, M. D. (2003). The leadership pill: The missing ingredient in motivating people today. Free Press.

Covey, S. R. (1998). The 7 habits of highly effective teens. Simon & Schuster.

Dwyer, P., & Burnside, R. (2021). Motivational factors influencing volunteer engagement: A meta-analysis of volunteer functions. Journal of Community Psychology, 49(3), 400-420.

Gambrell, K. M., Matkin, G. S., & Burbach, M. E. (2011). Cultivating leadership: The need for renovating models to higher epistemic cognition. Journal of Leadership and Organizational Studies, 18(3), 308–319.

Greenleaf, R. K. (2002). Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power and greatness. Paulist Press.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. John Wiley & Sons, Inc.

Schermerhorn, J. R. (2003). Management (8th ed.). John Wiley & Sons.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.