การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม People's Participation in Waeng Nang Municipality Community Development Mueang Maha Sarakham District, Maha Sarakham Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. ศึกษาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.856 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบรูณ์ขึ้นไปที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในพื้นที่เทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 374 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.48 S.D. =0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยจำแนกตามเพศ โดยภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลแวงน่าง ในทุกด้านไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และ 3. ผลการวิเคราะห์แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า การบริหารปกครองในระดับท้องถิ่นโดยปรับมุมมองจาก “ลูกค้า” เป็น “พลเมือง” ซึ่งตระหนักถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ที่ประชาชนต้องกระทำต่อสังคมซึ่งเป็นฐานคิดสำคัญของการบริหารปกครอง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิจจา โพแดน.(2557).การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล ลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โกวิทย์ พวงงาม. (2544). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
เจมส์ แอล. เครย์ตัน.(2551).คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม, แปลโดย ศ.นพ. วันชัย วัฒนศัพท์, ดร.ถวิลวดี บุรีกุล, ผศ.ดร.เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี.ขอนแก่น:โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์.(2550).แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ.(2558).การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ไซน์และการพิมพ์ จำกัด.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณและถวิลวดี บุรีกุล.(2548).ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy).กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
พระเฉลิมวุฒิ จิตฺตสํวโร (น้อยโจม).(2562).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา.สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน).(2561).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขต เทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานเรศ โฆสกิตติโก (ฤทธิเดช).(2557).การพัฒนาชุมชนเชิงพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลศรี รัตนะ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาบันพระปกเกล้า.(ออนไลน์).การมีส่วนร่วมของประชาชน.สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566 จาก https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การมีส่วนร่วมของประชาชน.
สำนักงานเทศบาลตำบลแวงน่าง. (2566). สำนักทะเบียนราษฎร. ออนไลน์, แหล่งที่มา https://waengnang.go.th/ สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566
Yamane. (1993). Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. Time Printers Sdn. Bnd. Singapore.