ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร Organizational Commitment of Employee of Kasikornbank Public Company Limited Khet Phra Nakhon, Bangkok
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความผูกพันต่อองค์การเป็นกุญแจสำคัญที่จะผูกมัด บุคลากรให้ปฏิบัติงานกับองค์การได้อย่างยาวนาน ในทางตรงกันข้ามหากบุคลากรเกิดความรู้สึกอึดอัดใจหรือไม่พึงพอใจต่องานที่ทำแล้ว และไม่มีความผูกพันต่อองค์การส่งผลให้บุคลากรนั้นลาออกจากองค์การไปได้อย่างง่ายและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ องค์การคือทำให้งานล่าช้าลงขาดความต่อเนื่องของงานและองค์การต้องเปลืองงบประมาณในการสรรหาบุคลากรใหม่ จึงเป็นที่น่าสนใจว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารกสิกรไทย เขตพระนคร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำนวน 184 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 คน โดยทำการสุ่มอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One-way analysis of variance) หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะเลือกทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD
ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านความต่อเนื่อง รองลงมาได้แก่ ด้านบรรทัดฐานทางสังคม และด้านความรู้สึก ตามลำดับ และพบว่าพนักงาน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคลทั้งในด้านเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการปฏิบัติงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลธิดา ไทยสุริโย. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เทียนศรี บางม่วงงาม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ผ่าน โครงการอบรมวิศวกรใหม่. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
ธนาคารกสิกรไทย. (2567). รายงานประจำปีของธนาคารกสิกรไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย.
ปรินทร์ฉัตร พงศ์ นาคศิริ. (2565).ปัจจัยแนวปฏิบัติการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน องค์กร/ธุรกิจสตาร์ทอัพในเขตกรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการจัดการมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล. (2566). จำนวนพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขตพระนคร. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย.
สิริพิมพ์ ชูปาน, อารีรัตน์ ขำอยู่, ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(4),1-9.
Brooks G.R. & Wallace, J.P. (2006). A discursive examination of the nature, determinants and impact of organizational commitment. Asia Pacific Journal of Human Resources, 44(2): 222-239.
Boxall, P., & Purcell, J. (2003). Strategy and human resource management. Palgrave Macmillan.
Cohen, A. (2007). The relationship between organizational commitment and organizational performance: A review and meta-analysis. Journal of Business and Psychology, 22(3), 65-80.
Kotter, J. (1996). Leading Change. Harvard Business Review Boston: MA.
Meyer, J. P., & Allen, N. J. (1997). Commitment in the workplace: Theory, research, and application. Sage Publications.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.