การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม Integrating the Principles of Sanghawatthutham to Enhance the Effectiveness of the Welfare of the Elderly in Waeng Nang Subdistrict Municipality, Mueang District, Maha Sarakham Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับประสิทธิผลการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และ 3) ศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรม เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปในเขตเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 290 คน วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงสถิติอนุมานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและสังเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X2 = 3.91 S.D. = 0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับการเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ (r =.337) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงปฏิเสธสมมติฐาน 3)ประสิทธิผลการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลแวงน่างนั้น รัฐบาลควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสวัสดิการของรัฐมากขึ้น เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะการฟื้นฟู ควรเพิ่มนโยบายหรือจัดโครงการอบรมให้ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และพิทักษ์ผู้สูงอายุให้เข้าถึงระบบสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2560). แผนยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 2 (2554-2559).สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566 จาก แหล่งที่มา:https:/www.m-society.go.th/ewt-news.php?nid=1295.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.(2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลัชซิ่ง จำกัด (มหาชน).
วรรณิภา สระศรี.(2557). แนวทางรองรับความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในตำบลไสไทย อำเภอ เมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่.วิทยานิพนธ์ฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
สำนักทะเบียนราษฎร์เทศบาลตำบลแวงน่าง.(2566). จำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม:สำนักงานเทศบาลตำบลแวงน่าง.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์.(2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย.วารสารเทคโนโลยีกาคใต้,9(1),73.
อภิษฎา เหล่าวัฒนพงษ์.(2554). ความต้องการและแนวทางในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุด้านอาชีพโครงการส่งเสริมอาชีพ พื้นที่กรุงเทพมหานคร.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์,22(3),56.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.