การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบ ในพื้นที่จังหวัดน่าน Public Participation in Managing Slow Tourism in the Area of Nan Province

Main Article Content

สกฤษณ์ ปุกคาม
สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล
พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปร่วมคิด ร่วมริเริ่ม ร่วมปฏิบัติและร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ของชุมชน หมู่บ้าน ตำบล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้สูงขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องแบบไม่เร่งรีบในพื้นที่จังหวัดน่าน และ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องแบบไม่เร่งรีบในพื้นที่จังหวัดน่าน จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดน่าน จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F – test โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการ Last Significant Deference (LSD)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการดำเนินงาน  รองลงมาได้แก่ ด้านการติดตามและประเมินผล ด้านการค้นหาสาเหตุของปัญหา ด้านการวางแผน และด้านการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ และ 2) เมื่อทำการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบในพื้นที่จังหวัดน่าน จำแนกปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลพบว่า ประชาชนที่มีอาชีพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่พักอาศัยในชุมชน และการเป็นสมาชิกชมรมหรือองค์กรต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบในพื้นที่จังหวัดน่าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ นอกจากนั้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
ปุกคาม ส., ศิริวิศิษฐ์กุล ส., & เพชรสถิตย์ พ. (2024). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบ ในพื้นที่จังหวัดน่าน: Public Participation in Managing Slow Tourism in the Area of Nan Province. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 325–337. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5680
บท
บทความวิจัย

References

ชลดรงค์ ทองสง. (2564). เทคนิคการพัฒนา Slow Tourism ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา. 12(2), 1-12.

ชนินทร์ อยู่เพชร. (2563). การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Slow Tourism. Tourism and Hospitality Management Quarterly Review, (5), 5-6.

ณัฏฐพัชร์ มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารการท่องเที่ยวไทยและนานาชาติ. 13(2), 25-46.

บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2560). การท่องเที่ยวแบบเนิบช้า (Slow travel) : นิยามและแนวคิด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 26-47.

ปัณณทัต บนขุนทด และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(2), 190-211.

ยิ่งรัตน์สระแก้ว. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพื้นที่ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/MvEmQ.

วิชาญ ฤทธิธรรม และคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครสกลนคร, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 27-41.

วีระพล ทองมา และคณะ (2561). ผลที่เกิดจากกิจกรรมท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : รายงานผลการวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2563). เที่ยวกรีน กินคลีน เสพศิลป์เมืองน่าน. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://stri.cmu.ac.th/gallery.php?id=2276.

ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์ และคณะ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน, วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 244-256.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน. (2566). สถิตินักท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ปี 2561 – 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 จากhttps://province.mots.go.th/ewtadmin/ewt/nan/more_news.php?page=5&cid=4.

Cohen, J. and UpHoff. (1977). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. London: Rural Development Center: Cornell University.

Dickinson, J. and Lumsdon, L. (2010). Slow Travel and Tourism. UK: Earth scan Ltd.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Yahaya I. (2020). Homestay Program in Malaysia - Development and Prospect of Slow Turism in Malaysia: School of Social, Development and Environmental Studies, Faculty of Social Sciences and Humanities, University Kebangsaan Malaysia.