รูปแบบเชิงนโยบายการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุสู่มาตรฐานอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ผู้สูงอายุตำบลหนองตาด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ Policy Model for Promoting the Health of the Elderly to Sustainable Standards. A Case Study of the Elderly in Nong Tat Subdistrict. Mueang Buriram District Buriram Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลนโยบายการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมาตรฐานรูปแบบกเชิงนโยบายการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ 3) เพื่อสร้างรูปแบบเชิงนโยบายของการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุสู่มาตรฐาน และ 4) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะรูปแบบเชิงนโยบายของการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ กำหนดตัวแปรทั้งหมด 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านการเสริมสร้างสุขภาวะทางกาย 2) ด้านการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิต 3) ด้านการเสริมสร้างสุขภาวะทางสังคม และ 4) ด้านการเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูง จำนวน 50 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนกำหนดนโยบาย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเวทีสาธารณะและการสนทนากลุ่มร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้เทคนิค SWOT (SWOT Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลนโยบายการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.11, S.D. = 0.34) 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมาตรฐานรูปแบบกเชิงนโยบายผู้สูงอายุ พบว่า กลยุทธ์รูปแบบเชิงนโยบายเชื่อมโยงบทบาทของผู้สูงอายุในการเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนสมาชิกในชุมชนฟื้นฟูคุณภาพจิตใจผู้สูงอายุในการพึ่งพึงตนเองและสุขภาวะให้สอดคล้องกับช่วงวัยและโรคประจำตัว 3) ข้อเสนอแนะรูปแบบเชิงนโยบายของการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ พบว่า ควรให้ความช่วยเหลือหรือส่งเสริม ด้านอาชีพและควรให้ความช่วยเหลือในการอำนวยความสะดวกรับส่งผู้สูงอายุในการเดินทางมาเรียนรู้ในศูนย์ผู้สูงอายุ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอนามัย. (2560). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ณรงค์กร ชัยวงศ์.(2564).การสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยต้นกล้าพยาบาลกับครอบครัวอุปถัมภ์กรณีศึกษาชุมชนตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(3): 357-370.
ประเวศ วะสี.(2558). สู่สุขภาพ 4 มิติ ในสุขภาพทางสังคมและจิตวิญญาณ. กรุงเทพฯ: บริษัทเซนจูรี่จำกัด.
พระมหาสมคิด กมโล (มีสี).(2563). การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาค.(2561). โรงเรียนผู้สูงอายุ : หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มาสริน ศุกลปักษ์. (2563). การศึกษาสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล จังหวัดนนทบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(4), 530-540.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.). (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิทธิพร เกษจ้อย. (2565). การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง,11(1),1-16.
เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.