กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย Competency Development Strategies to Enhance Personnel Performance Efficiency Mahamakut Buddhist University

Main Article Content

อมร เอื้อกิจ
พระเมธีวัชราภรณ์
บรรจง ลาวะลี
วงศ์ชนก จำเริญสาร
ฉัตรชัย ชมชารี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างของการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ ได้แก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 165 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการทำงานอย่างชาญฉลาดด้านความเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านความยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม 2) ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้ง 5 องค์ประกอบและ 20 ตัวบ่งชี้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยโมเดลมีความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างเท่ากับ 0.924 ซึ่งมากกว่า 0.60 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) รูปแบบกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้ทฤษฎีระบบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย สภาพปัจจุบันการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) กระบวนการ โดยใช้การพัฒนาสมรรถนะตามกรอบ PIE ได้แก่ (1) Performance (ประสิทธิภาพ) (2) Improvement (การพัฒนา) (3) Enhancement (การเสริมสร้าง) โดยบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ซึ่งหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ประการ คือ (1) ฉันทะ (2) วิริยะ (3) จิตตะ (4) วิมังสา ปัจจัยผลผลิต คือ รูปแบบกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Article Details

How to Cite
เอื้อกิจ อ., พระเมธีวัชราภรณ์, ลาวะลี บ., จำเริญสาร ว., & ชมชารี ฉ. (2024). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย: Competency Development Strategies to Enhance Personnel Performance Efficiency Mahamakut Buddhist University. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 379–391. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5747
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์ทา มั่งคำมี. (2562). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_ 1597915712_61148 32012.pdf.

ทิวาพร พรหมจอม. (2561). ประสิทธิผลการปฏิบัติตามสมรรถนะหลักของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 15(71), 97-106.

ธีระวัฒน์ แก้วลังกา. (2560). การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในประเทศไทย : จุดแข็งและจุดอ่อน. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2567. จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/ article/view/253061.

เบญสิร์ยา เกษอุดมทรัพย์, สุภาพร พงษ์ภิญโญโอภาส, รัชนี นิธากร. (2565). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตาก. วารสารศิลปะการจัดการ. 6(3), 1570-1584.

พิมพ์ลักษณ์ อยู่วัฒนา. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนเครือข่ายบริการสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2564). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.2564-2568.นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 เล่ม 136/ตอนที่ 47 ก/หน้า54/1. พฤษภาคม 2562.

สิทธิพงศ์ นกแอนหมาน. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. (2561). การนำใช้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ในการบริหารสถาบันการศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Online). 9(2), 26-34.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Walton, R. E. (1973). Quality of work life: what is it?. Sloan Management Review. 15(1), 11-21.