การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลยโสธร จังหวัดยโสธร ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยการใช้ Google Lens คู่กับชุดแบบฝึกคำศัพท์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด Development of English Vocabulary Learning Achievement of Grade 4 Students at Anuban Yasothon School, Yasothon Province During the Covid-19 Outbreak by Using Google Lens with Vocabulary Practice Sets Using Peer Learning Activities

Main Article Content

รุ่งระวี พลพวก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยวิธีการดังกล่าว และ 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการจดจำคำศัพท์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 117 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามและแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบื่งเบนมาตรฐาน และ แบบทดลองโดยใช้การออกแบบแบบกลุ่มเดียวก่อนและหลังการทดลอง


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนในทั้งสามปีการศึกษา 2) นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับสูงมากต่อวิธีการเรียนรู้ที่ใช้ทั้งสามปี และ 3) นักเรียนมีความคงทนในการจดจำคำศัพท์ กล่าวโดยสรุป คือ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลยโสธร จังหวัดยโสธร ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยใช้ Google Lens คู่กับชุดแบบฝึกคำศัพท์ด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ที่ระดับมากที่สุด และสามารถจดจำคำศัพท์ได้แม้เรียนผ่านไปแล้ว 14 วัน

Article Details

How to Cite
พลพวก ร. (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลยโสธร จังหวัดยโสธร ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยการใช้ Google Lens คู่กับชุดแบบฝึกคำศัพท์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด: Development of English Vocabulary Learning Achievement of Grade 4 Students at Anuban Yasothon School, Yasothon Province During the Covid-19 Outbreak by Using Google Lens with Vocabulary Practice Sets Using Peer Learning Activities. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(3), 419–429. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/5786
บท
บทความวิจัย

References

จุฬารัตน์ ดวงแก้ว. (2552). ความพึงพอใจของครูต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชลลดา เรืองฤทธิ์ราวี. (2553). ผลการใช้กลวิธีช่วยจำเพื่อพัฒนากาเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรีนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมุทร เซ็นเชาวนิช.(2551). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษ.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Jordan, R. R. (1997). English for academic purpose. A guide and resource book for teachers. Limbu, P. (2012). Why do we need to use activity-based learning method?. Retrieved June 20, 2018 from http://eprogressiveportfolio.blogspot.com/2012/06/activity-based-teaching-method.htm.

Limbu, P. (2012). Why do we need to use activity-based learning method. Retrieved June 20, 2024 from http://eprogressiveportfolio. blogspot.com/2012/06/activity-based-teaching-method.html.

Wilkins, D. A. (1972). Linguistics in Language Teaching. London: Edward Arnold.